ความหมายและความสำคัญของครู
ครูคือผู้ให้ ผู้สร้าง ผู้พัฒนา
ครู คือ ผู้ที่จุดดวงประทีปทางปัญญาให้แก่ศิษย์ เพื่อให้ศิษย์พ้นจากความมืด คือ ความไม่รู้ โดยพยายามประคับประคอง ส่งเสริมให้ศิษย์เจริญก้าวหน้าในทุกวิถีทาง ฉะนั้น ครูที่แท้จริงคือ ผู้ให้สำหรับศิษย์โดยไม่มีขอบเขตจำกัด ทั้งนี้เพราะหัวใจและวิญญาณของครูบรรลุสิ่ง 3 ประการ คือ ปัญญา กรุณา และบริสุทธิ์ ดังนั้นการพัฒนาการศึกษา จะมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเดียวคงมิได้ ต้องพัฒนาการศึกษา เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และพัฒนาประเทศ ฉะนั้น ครูต้องมีบทบาททางการศึกษา ในการสร้างและพัฒนา ความรู้ ความคิด ความประพฤติ และคุณธรรมของบุคคลในสังคมที่ดีแก่เยาวชน เพื่อที่จะนำความรู้ ความคิด ไปใช้ปฏิบัติงานในการดำรงชีวิต ด้วยความเจริญ สร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่สังคมและบ้านเมือง
ครูต้องเสียสละ อดทน ต่ออุปสรรค ให้การศึกษา ให้คำแนะนำ และส่งเสริมบุคคลให้มีความเจริญงอกงามในการเรียนรู้ต่อเยาวชน ด้วยความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ ครูทุกคนต้องนึกว่าตนเป็นครู ต้องไม่หยุดเรียนรู้ หาก “ หยุด ” เรียนรู้ ก็คงไม่ต่างจากการหมดคุณค่าของความเป็นครู
ครูทุกท่านควรน้อมนำพระราชดำรัสเกี่ยวกับบทบาทของครู คำว่า " ครูทุกคนต้องนึกว่าตนเป็นครู ต้องมีความยุติธรรม ต้องหนักแน่นครูฝึกฝนอบรมให้เป็นนักเรียนที่ดี มีระเบียบ มีความรับผิดชอบในหน้าที่ รู้จักทำตนให้ตรงต่อเวลา รู้จักรักษาทรัพย์สมบัติส่วนตัวและส่วนรวม ครูต่างทำตัวให้เป็นครูที่น่าเคารพแม้จะฝืดเคืองก็กัดฟัดสอนและแจกจ่ายความรู้ออกไป ครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละประกอบคุณงามความดีเพื่อ ประโยชน์ของชาติ "มาใส่หัวใส่เกล้า
ดังนั้นครูคือผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าต่อการพัฒนาชาติให้ก้าวหน้าและครูเป็นผู้ให้ความหวัง ครูเป็นพลังให้แก่ศิษย์เป็นคนดี
ครูต้องเสียสละ อดทน ต่ออุปสรรค ให้การศึกษา ให้คำแนะนำ และส่งเสริมบุคคลให้มีความเจริญงอกงามในการเรียนรู้ต่อเยาวชน ด้วยความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ ครูทุกคนต้องนึกว่าตนเป็นครู ต้องไม่หยุดเรียนรู้ หาก “ หยุด ” เรียนรู้ ก็คงไม่ต่างจากการหมดคุณค่าของความเป็นครู
ครูทุกท่านควรน้อมนำพระราชดำรัสเกี่ยวกับบทบาทของครู คำว่า " ครูทุกคนต้องนึกว่าตนเป็นครู ต้องมีความยุติธรรม ต้องหนักแน่นครูฝึกฝนอบรมให้เป็นนักเรียนที่ดี มีระเบียบ มีความรับผิดชอบในหน้าที่ รู้จักทำตนให้ตรงต่อเวลา รู้จักรักษาทรัพย์สมบัติส่วนตัวและส่วนรวม ครูต่างทำตัวให้เป็นครูที่น่าเคารพแม้จะฝืดเคืองก็กัดฟัดสอนและแจกจ่ายความรู้ออกไป ครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละประกอบคุณงามความดีเพื่อ ประโยชน์ของชาติ "มาใส่หัวใส่เกล้า
ดังนั้นครูคือผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าต่อการพัฒนาชาติให้ก้าวหน้าและครูเป็นผู้ให้ความหวัง ครูเป็นพลังให้แก่ศิษย์เป็นคนดี
“ ครูคือผู้ให้ ผู้สร้าง ผู้พัฒนา ”
ความเป็นครู
ครู ซึ่งมาจากคำว่า คุรุ แปลว่า หนัก ฉะนั้นแล้ว ครู จึงเป็นผู้หนัก หนักในเรื่องใดบ้าง เช่น หนักในการที่จะสั่งสอนศิษย์ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ หนักในการที่จะสอนคนหลาย ๆ คนให้เป็นคนที่ดี เป็นบุคคลที่สังคมมีความต้องการ และการที่เราจะสามารถสอนคนเหล่านั้นได้เราจะต้องรู้เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล เหล่านั้นดีพอสมควร เราจึงจะสามารถสอนเขาได้ ซึ่งเข้ากับสุภาษิตจีนที่ว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” การสอนคนก็เช่นเดียวกัน การสอนก็เปรียบเสมือนกับการรบที่จะต้องมีการใช้ แรงกาย แรงใจ และกำลังสมองในการที่จะมาคิดกาวิธีทางที่จะเอาชนะข้าศึก ซึ่งก็เปรียบได้กับ ความไม่รู้หรือความเขลาในตัวศิษย์ และการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติ เรื่องราว หรือพื้นเพของคนที่เราเรียกว่าศิษย์นั้นก็เป็นอีกกลยุทธหนึ่งที่จะเอาชนะ ความเขลา หรือข้าศึกในการรบได้
ความ หมายของครู กล่าวคือ ผู้ที่เป็นครูควรมีภาวะดังกล่าวอันได้แก่ ความรู้ ความประพฤติและคุณธรรม ไม่ว่าครูนั้นจะอยู่ ณ ที่ใด หน่วยงานไหน หรือซีกใดของโลก อย่าง ไรก็ตาม ยังมีความหมายของครู อีกอย่างหนึ่งที่กำหนดโดยกฎหมายให้เป็น รูปแบบ แบ่งเป็นชั้นหรือระดับ สูงต่ำแตกต่างกัน และอาจเกิดสิ่งที่เรียกว่าเกียรติหรือศักดิ์ศรี แทรกซ้อนอยู่ในรูปแบบนั้นด้วย ซึ่งบางที อาจปิดกั้นไม่ให้มองเห็นความหมายตามเนื้อแท้ ก็ได้ ความหมายของครูที่กำหนดโดยกฎหมายนี้ อาจเรียกว่า “ความหมายของครูตามรูปแบบ”
ที่ ผู้เขียนใช้ข้อความนี้ เพราะเป็น ความหมายที่ไม่แน่นอนตลอดไป อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามความเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการอีกทีหนึ่ง ถ้ากฎหมายกำหนดครูให้เป็นรูปแบบระดับใด ความหมายของครูก็จะเปลี่ยนไปตามรูปแบบระดับนั้น ๆ ตัวอย่าง ความหมายของครูตามรูปแบบ จะเห็นได้จากกฎหมายบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ กำหนดรูปแบบของครูโดยเรียกว่า “ข้าราชการครู” ซึ่งมี ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑) กลุ่มที่มีหน้าที่เป็นผู้สอนในหน่วยงานทางการศึกษา ๒) กลุ่มที่มีหน้าที่เป็นผู้บริหารและให้การศึกษาใน หน่วยงานทางการศึกษา และ ๓) กลุ่มที่มี หน้าที่เกี่ยวกับการให้การศึกษาที่ไม่สังกัดโรงเรียน วิทยาลัย หรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น ของกระทรวงศึกษาธิการ
เฉพาะกลุ่มที่ ๑ ซึ่งทำหน้าที่สอนเป็นหลัก ก็มีการแบ่งตำแหน่งเป็นระดับ ๆ ไปจากล่างขึ้นไปสูง คือ
๑. ครู ๑
๒. ครู ๒
๓. อาจารย์ ๑
๔. อาจารย์ ๒
๕. อาจารย์ ๓
๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์
๗. รองศาสตราจารย์
๘. ศาสตราจารย์
และบางตำแหน่งก็กำหนดให้มีได้ เฉพาะในบางหน่วยงาน คือตำแหน่งที่ ๖-๗-๘ จะมีได้เฉพาะในหน่วยงานที่มีการสอนถึง ระดับปริญญาเท่านั้น ยิ่ง กว่านั้น ในสถาบันอุดมศึกษาบางสังกัด กล่าวคือ มหาวิทยาลัย ได้มีการกำหนดแบบของครูเป็นพิเศษต่างหากออกไปจน ไม่มีกลิ่นไอของครูเลยทีเดียว ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายคนละฉบับกัน
ความหมายของครูตามรูปแบบอาจ มีส่วนกระทบในทางลบต่อความหมายของครูตามเนื้อแท้ก็ได้ และคำว่า “ครู”อาจจะค่อย ๆ เลือนหายไปจากความสนใจของสังคมโดย อาจถูกมองว่าไม่เหมาะกับยุคสมัย เช่น แทนที่ จะเรียกว่า “ครู”ก็เรียกว่า “อาจารย์” หรือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์” หรือคำอื่น ๆ (อาจมีขึ้นภายหลัง) ดูจะเท่หรือโก้กว่าหรือทันสมัยกว่าที่ กล่าวเช่นนี้ คงไม่เกินความจริง เพราะกฎหมายที่กำหนดขึ้นในระยะหลัง ๆ ดูจะพยายามลดความสำคัญของคำว่า “ครู” ลง จะโดยจงใจหรือไม่ก็ตาม มองเฉพาะในแง่สถาบันผลิตครู เช่น วิทยาลัยครู ได้กลายมาเป็นสถาบันราชภัฎ มหาวิทยาลัยที่ผลิตครู แม้มีคณะที่รับผิดชอบเรื่องครู ก็พยายามที่กลายชื่อเป็นอย่างอื่น เช่นศึกษาศาสตร์ หรือบุคลากรทางการศึกษา
นาน ๆ ไป คำว่า “ครู” คงจะหมดไป และคนที่เป็นครู อาจจะเป็นใครก็ได้ที่สามารถทำหน้าที่สอนได้ จนที่สุดแม้แต่เครื่องเทคโนโลยีก็อาจเป็นครูได้ เพราะสามารถทำหน้าที่สอนให้เกิดความรู้ได้ ดังนั้น องค์ประกอบแห่งความเป็นครู ที่กล่าวข้างต้น คือ ความรู้ ความประพฤติ และคุณธรรม อาจเหลือเฉพาะองค์ประกอบเดียวคือ ความรู้เท่านั้นก็ได้ หลับตาดูก็แล้วกัน หากเป็นเช่นนั้นจริง สังคมในอนาคตจะวุ่นวายแค่ไหนสุดที่จะเดาได้
บทบาทหน้าที่ของครูตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ
พุทธทาสภิกขุ (๒๕๒๙ : ๒๔๒-๒๕๓) ได้กล่าวถึงบทบาทของครูไว้ว่า ๑. บทบาทของครู ครู คือผู้นำทางวิญญาณ ทั้งแก่บุคคลและสังคม ใน ๓ ประการคือ
๑. สอนให้รู้จักความรอดที่แท้จริง คือการดับทุกข์
๒. สอนให้รู้จักความสุขที่แท้จริง คือความสุขจากการทำหน้าที่ หน้าที่นั้นแยกได้ ๒ ประการ
ประการที่ ๑ คือ การบริหารชีวิตให้เป็นสุข
ประการที่ ๒ คือ การใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
๓. สอนให้รู้จักหน้าที่ที่แท้จริง คือรู้จักหน้าที่ในฐานะที่เป็นสิ่งสูงสุด รักที่จะทำหน้าที่และมีความสุขในการทำหน้าที่
ครูเป็นผู้สร้างโลก บุคคล ในโลกจะดีหรือเลว ก็เพราะการศึกษาและผู้ให้การศึกษา ก็คือครู ดังนั้น ครูจึงเป็นผู้สร้างโลกในอนาคต โดยผ่านศิษย์ โลกที่พึงประสงค์คือ โลกของคนดีอันเปรียบได้กับ
๑. มนุษยโลก คือ สร้างบุคคลที่มีจิตใจสูง
๒. พรหมโลก คือ สร้างบุคคลที่ประเสริฐรักเพื่อนมนุษย์ มีพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
๓. เทวโลก คือ สร้างบุคคลให้มีหิริ โอตตัปปะ
๓. หน้าที่ของครู หน้าที่ ของครู คือสร้างความอยู่รอดของสังคม โดยการให้การศึกษาที่สมบูรณ์แก่ศิษย์ การศึกษาที่สมบูรณ์คือ การศึกษาที่ครบองค์สาม อันได้แก่
๑. ให้ความรู้ทางโลก หมายถึง การเรียนหนังสือ เพื่อพัฒนาสติปัญญาและการเรียนวิชาชีพ เพื่อให้สามารถอยู่รอดทางกาย
๒. ให้ความรู้ทางธรรม เพื่อให้ใจอยู่รอด คือรอดพ้นจากความครอบงำของกิเลส มีความเป็นมนุษย์ คือใจสูง ใจสว่าง และใจสงบ
๓. ให้รู้จักทำตนให้เป็นประโยชน์ ทั้งต่อตนเองและสังคม
คุณลักษณะที่ดีของครู
๑. ครูต้องมีลักษณะบากบั่น ต่อสู้ อดทน สร้างคนให้เป็นคนดีให้ได้
๒. ครูต้องมีลักษณะครบถ้วนทุกด้าน ให้สมกับที่คนยกย่องนับถือว่ามีใจประเสริฐ
๓. ครูต้องงดเว้นอบายมุขทุกอย่าง เช่น การดื่มเหล้า เล่นการพนัน
๔. ครูต้องเป็นคนมีน้ำใจสะอาด มีความเสียสละมากไม่จำเป็นต้องมีปริญญาการศึกษาสูงเสมอไป ขอเพียงแต่มีความจริงใจ มีใจรักในความเป็นครู
๕. ครูควรให้เวลาแก่เด็กนักเรียน ในการที่จะศึกษาปัญหาต่าง ๆ และฟังความคิดเห็นของเด็กบ้าง
๖. ครูควรทำตัวให้ดี มีนิสัยดี เพื่อลบล้างข่าวที่ไม่ดีเกี่ยวกับครูตามที่ปรากฏในสื่อมวลชนต่าง ๆ
๗. ครูไม่ควรถือตัว ควรเข้ากับทุกคนแม้จะเป็นคนยากจนก็ตาม
๘. ครูควรมีลักษณะพร้อมที่จะสร้างคนให้เป็นคนดีมีความรู้ ความคิดและเป็นคนดี
๙. ครูต้องเป็นคนสามารถสร้างสรรค์สังคมและช่วยเหลือประเทศชาติเป็นอันดับแรก ดังนั้น ครูต้องขยันอย่างน้อยให้ใกล้เคียงกับคนที่ทำงานธนาคาร
๑๐. ในด้านความรู้ ชาวบ้านมีความศรัทธาว่า ครูมีความรู้ดีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ครู ควรจะมีให้มากคือด้านความประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดี
มีหลายคนสงสัยว่า "ครู"กับ"อาจารย์"เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
และทำหน้าที่เป็นเช่นไร เผื่อเวลาจะเรียกขานนามจะได้เรียกให้ถูก ไม่เขิน เจ้าตัวก็ทำตัวถูก(ไม่ตัวลอย หรือตัวลีบพึมพำตามหลัง) ก็เลยอยากอธิบายไว้พอสังเขป เมื่อ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ได้ประกาศใช้ทำให้คำว่า"ครู"และคำว่า "อาจารย์"ถูกเรียกแทนตำแหน่งต่างกันดังนี้ "ครู" เป็นชื่อที่เรียกแทน ผู้ที่สอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน(อนุบาล-ม.6) โดยมีตั้งแต่ ครูผู้ช่วยครูชำนาญการ ครูชำนาญการพิเศษ ครูเชี่ยวชาญ ครูเชี่ยวชาญพิเศษ แล้วแต่วิทยฐานะที่ได้รับ และคำว่าครูฟังแล้วเป็นคำดั้งเดิมที่เรียกต่อๆกันมา มีลักษณะถึงความใกล้ชิดกับศิษย์มีลักษณะการเรียนการสอนที่แสดงถึงความห่วงหาอาทรกับศิษย์ ทั้งนี้มีคำใกล้เคียงที่เคยเรียก เช่น พ่อครู แม่ครู ครูหมอ เป็นต้น"อาจารย์" เป็นชื่อที่เรียกผู้สอนในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า เป็นคำที่หมายรวมถึงคณาจารย์ในวิทยาลัยมหาวิทยาลัย ฟังดูแล้วอาจารย์จะเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาเฉพาะด้าน มีความเชี่ยวชาญเป็นด้านๆหรือแต่ละสาขาวิชา ทั้งนี้อาจเรียกอาจารย์ และเรียกกับผู้ที่มีตำแหน่งทางวิชาการว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ หรือศาสตราจารย์ที่เชี่ยวชาญและมีผลงานทางวิชาการด้วย และคำนี้ฟังดูแล้วจะศรัทธาในความเชี่ยวชาญด้านนั้นๆและนำแนวคิดหรือข้อค้นพบที่บุคคลเหล่านั้นคิดขึ้นมาใช้อ้างอิงในการดำเนินชีวิต การทำงาน หรือการปฏิบัติตน แต่...สิ่งที่สองตำแหน่งนี้มีเหมือนกัน คือ การสอนให้ผู้เรียนมีคุณธรรม มีความรู้ มีทักษะชีวิตในการที่จะนำสิ่งเหล่านั้นไปพัฒนาตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
คุณธรรมความเป็นครู
คุณธรรม ความเป็นครูในบทความนี้เป็นคุณลักษณะเฉพาะตัวสำหรับคนที่ประกอบวิชาชีพครู ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบภายนอกตัวครูอื่นอีก ไม่ว่าระบบบริหารสถาบันวิชาชีพ จรรยาบรรณ หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ คำ ว่า “ครู” นั้น แม้โดยรูปแบบจะมีการแบ่งเป็นกลุ่ม ระดับตามลักษณะงาน และระดับการศึกษาที่ตนมีบทบาทหน้าที่ก็ตาม แต่โดยเนื้อแท้ ครูต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติหรือองค์ประกอบ ๓ ประกอบคือ ๑) มีความรู้ดี ๒) มีความประพฤติดี และ ๓) มีคุณธรรม หากขาดคุณสมบัติทั้งสามนี้ ก็ยากที่จะคงบทบาทแห่งความเป็นครูอยู่ได้ บทบาท แห่งความเป็นครูนั้น แม้จะกำหนดไว้แตกต่างกันตามลักษณะประเภทองค์กรที่ครูสังกัด แต่ก็อยู่ในกรอบใหญ่ ๓ กรอบตามคุณสมบัติของครูนั่นเอง คือบทบาทในกรอบความรู้ กรอบความประพฤติ และกรอบคุณธรรม แม้ จะมีกรอบททั้งสามนี้แล้วก็ตาม แต่เนื่องจากภาวการณ์ปัจจุบันเป็นภาวการณ์วิกฤต ตามกระแสโลกาภิวัตน์ การออกนอกกรอบอาจเกิดขึ้นได้ อันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความวุ่นวายในสังคม เพราะสังคมนั้น ประกอบด้วยบุคคลจำนวนมาก ซึ่งแต่ละคนย่อมได้รับการศึกษาอบรมไปจากครู เมื่อครู ซึ่งเป็นต้นแบบออกนอกกรอบ ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าผลผลิตก็จะออกนอกกรอบไปด้วยดัง นั้น จึงจำเป็นที่ครูต้องมีปรัชญาและคุณธรรมที่เสริมเพิ่มความเป็นครู ในด้านปรัชญานั้นควรที่จะยึดหรือยืนอยู่ตรงจุดที่มีดุลยภาพ คือตรงจุดกึ่งกลางแห่งกระแสโลกาภิวัตน์ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้เกิดความรวดเร็ว และชะลอความเร็วเกินขนาดจนอาจเป็นอันตรายได้ ใน ด้านคุณธรรม โดยสามัญสำนึก ทุกคนย่อมตระหนักได้เองว่า อะไรดีไม่ดี ควรไม่ควร ถ้าคนนั้นผ่านการกล่อมเกลาทางสังคมมาระดับหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นครูได้ผ่านการกล่อมเกลา และกรองมาแล้วหลายระดับและหลายครั้ง ย่อมทราบโดยสำนึกแน่นอนว่าอะไรดีควรทำตามหน้าที่ นั่นหมายความว่า คุณธรรมเป็นสิ่งที่มีประจำใจของใคร ๆ อยู่แล้ว อย่าง ไรก็ตาม ในแง่การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ต้องคำนึงขั้นตอนการพัฒนาตามหลัก ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิปละปัญญา เพราะเมื่อดำเนินการตามหลักนี้แล้ว จะทำให้เกิดคุณธรรมอื่น ๆ ติดตามมาโดยอัตโนมัติ ในฐานะที่หลักไตรสิกขานั้นเป็นหลักเพื่อการพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อมุ่งไปสู่พุทธิปัญญาที่จะทำให้มีอิสระปลอดโปร่ง และปลอดภัยอย่างแท้จริง อันเป็นที่ปรารถนาของคนทุกระดับ
ที่ กล่าวมาทั้งหมดนี้ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่จะขวนขวายแสวงหาเพื่อการพัฒนาด้วยตน เอง โดยไม่สัมพันธ์กับระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบบริหารจัดการบุคลากรครูอันเป็นโครงสร้างและสิ่งแวด ล้อมสำคัญที่จะให้เกิดการปฏิบัติดังกล่าว จึงน่าจะมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการดังกล่าวเกี่ยวกับบุคลากร ครู ข้อเสนอแนะบางประการ ดังนี้
๑. ครูในฐานะปัจเจกบุคคลต้องมีใจพร้อมที่จะทำหน้าที่ครู เป้าหมายคือยกระดับวิญญาณมนุษย์ ไม่ใช่ยกระดับความรู้เท่านั้น
๒. รัฐต้องปฏิรูปครูทั้งระบบทุกระดับ ตั้งแต่ครูก่อนประถมจนถึงรถดับอุดมศึกษา (ผู้ทำหน้าที่สอนทุกระดับถือว่าเป็นครู) โดยปฏิรูปทั้งระบบการผลิต การใช้และการพัฒนา
๓. ถ้าถือว่าวัยต้น ๆ ของคนเป็นวัยที่มีความสำคัญ เพราะเป็นวัยที่วางรากฐานการพัฒนาที่สำคัญที่สุด เป็นวัยที่ชี้ทิศทางแห่งการพัฒนาวัยต่อ ๆ ไปแล้ว ครูในระดับต้น ๆ คือก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษาก็ควรจะได้รับความสำคัญเป็นพิเศษด้วย โดยเฉพาะแง่ความก้าวหน้าทั้งทางวิชาการและวิชาชีพครู กฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่ล้าสมัย น่าจะได้รับการปรับปรุงเพื่อให้ครูในระดับต้น ๆ ได้รับความสำคัญเป็นพิเศษดังกล่าว ทางก้าวหน้าของครูในระดับต้น ๆ น่าจะมีช่องทางเหมือนกันกับครูในระดับสูง ๆ ตำแหน่งทางวิชาการไม่ว่าจะโดยชื่อ หรือสิทธิประโยชน์อันมากับตำแหน่งนั้น น่าจะมีเหมือนกันและเท่ากันสำหรับครูทุกระดับ ศาสตราจารย์มีได้แม้ในครูอนุบาล ถ้าคุณภาพทางวิชาการถึงระดับกำหนด
๔. ในขณะที่ยุคนี้ เทคโนโลยีกำลังมาแรง ครูและผู้จัดระบบการบริหารจัดการครู ต้องตั้งสติให้ดีว่า คนจะต้องใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเท่านั้น อย่าหลงหรือเผลอให้เทคโนโลยีมาใช้คน โดยไม่รู้ตัว เพราะมิฉะนั้น จะถึงจุดอันตราย ที่ความเป็นมนุษย์จะสูญสิ้น จะมีแต่ความเป็นวัตถุเมื่อถึงขั้นนั้น คนจะพูดกันด้วยเหตุผลไม่รู้เรื่อง แต่จะพูดกันด้วยวัตถุ หรือเงิน หรือผลประโยชน์อื่น ๆ
๕. สภาพแวดล้อมทางสื่อสารมวลชนมีบทบาทสำคัญเสมือนหนึ่งเป็นครูโดยอัตโนมัติ เพราะสามารถสื่อความหมายสิ่งต่าง ๆ ทั้งดีและไม่ดีที่มีอิทธิพลต่อคนไม่ยิ่งหย่อนหรือมากไปกว่าครูด้วยซ้ำไป ดังนั้น วิชาการทางสื่อสารมวลชนไม่ว่าจะเป็นนิเทศศาสตร์หรือชื่ออื่นใด ควรจะมีวิชาคุณธรรมความเป็นครูให้ศึกษาด้วย และให้ผู้ประกอบอาชีพด้านนี้ มีความรู้สึกว่าตัวเองเป็นหรือเสมือนเป็นครูคนหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อความรู้สึกรับผิดชอบต่อผลของการเสนอข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ จะเพิ่มความเข้า
ตัวหนังสือหน้าอ่านพื้นหลังสวย เราชอบนะเนื้อหาเยอะดีแต่อยากให้มีรูปเกี่ยวกับเนื้อหาเพิ่มเติมนะเราว่ามันจะดีกว่านี้ มันจะชวนดึงดูดสายตา หน้ามองมากกว่านี้ อืม.... อีกอย่างที่อยากให้เพิ่มคือ สีตัวอักษร
ตอบลบเพื่อแยกว่าไหน หัวข้อหลักไหนหัวข้อลอง จะได้อ่านละทำควมเข้าใจ กับเนื้อหาที่อ๋อมเอามามากกว่านี้แต่ไง เราว่ามันก็โอนะ ขอบคุฯเนื้อหาดีๆนะค่ะ
เนื้อหาอ่านง่ายสื่อเข้าใจของความหมายนั้นมีพื้นหลังที่ดีตัดกับสีเนื้อหาแต่ต้องปรับปรุงเรื่องตัวหนังสือและสีสันพื้นหลังหน่อยเพราะว่ามีเล็กบ้างใหญ่สีสันน้อยดูเรียบไปบ้างทำให้พูดอ่านอ่านแล้วรูสึกสับสนบ้างเล็กน้อยมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับ คำว่า ครู ความสำคัญของครู บทบาทและหน้าที่ของครูขอบคุนสำหรับเนื้อหาดีๆค่ะ
ตอบลบเนื้อหาโอเคร แต่พื้นหลังดูแล้ว ลายตาอ่ะ
ตอบลบแล้วสีมันดูยังไงๆ ก็ไม่รู้ควรตกแต่งบล็อคให้น่าสนใจกว่านี้หน่อยนะ เราเอาใจช่วย