เกริ่นนำ

.......สวัสดีท่านผู้ชมที่เข้ามาชม Blogger นี้ ซึ่งเป็นสื่อประกอบการเรียน "วิชาความเป็นครู" ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โดยผสมผสานระหว่างการเรียนรู้ในห้องเรียนปกติกับ Webblog มีความสะดวกสะบาย ได้ทั้งข้อมูล ความรู้ บทความ รูปภาพ ที่เกี่้ยวข้องกับความเป็นครู ช่วยให้ผู้เรียนมีอิสระในการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง ยิ่งไปกว่านี้เรายังนำข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างไกล มาตรวจสอบและเรียนรู้อย่างลึกซึ้งในห้องเรียนปกติ หวังว่า Webblog นี้จะมีประโยชน์กับผู้ชมไม่มากก็น้อย

บทที่ 8

" บุคคลแห่งการเรียนรู้ "

     บุคคลแห่งการเรียนรู้คือบุคคลที่นำข้อมูลประสบการณ์มาพิจารณาไตร่ตรองอย่างสม่ำเสมอเกิดความเข้าใจและสามารถประยุกต์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติ จนกลายเป็นวิถีชีวิตของตน ผู้บริหาร ครู นักเรียน
เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อแต่ละคนเป็นผู้ใฝ่รู้ แสวงหาความคิดใหม่ๆตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด และพัฒนาปรับปรุงความรู้และการปฏิบัติของตนอยู่ตลอดเวลาผู้บริหาร ครู นักเรียน ติดต่อสื่อสารต่อกันในบรรยากาศของความไว้วางใจและโลกทัศน์ที่เปิดกว้างมีการแบ่งปันความรู้และการแก้ปัญหาร่วมกันสิ่งสำคัญคือ การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งที่สุดเป็นการค้นพบสัจธรรมของชีวิต บุคคลแห่งการเรียนรู้แสวงหาความจริงของชีวิต อาศัยการไตร่ตรองอย่างสม่ำเสมออาจารย์เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ได้วิเคราะห์ถึงสิ่งที่สังคมไทยขาดอย่างรุนแรงยิ่งคือการที่สังคมไทยเป็นสังคมที่คนคิดไม่เป็น
1.สภาพการเลี้ยงดูและสร้างคนของสังคมไทยได้แก่
เน้นการเชื่อฟังอยู่ภายใต้ระบบการเชื่อฟังมาโดยตลอด ทั้งระบบครอบครัวการศึกษาและสังคมส่งผลให้คนในสังคมไม่ได้รับการส่งเสริมให้คิดเอง หรือคิดแตกต่างมากเท่าที่ควร
2.ขาดการส่งเสริมการอ่านและแสวงหาความรู้มากเพียงพอในการปลูกจิตสำนึกให้รักและแสวงหาความรู้โดยผู้เรียนมักจะให้ความสำคัญกับการอ่านเพื่อสอบเป็นหลัก โดยไม่ได้หาความรู้ที่นอกเหนือการนำไปสอบมาก
วิธีสร้างให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
1.สร้างหลักสูตรการคิดในการศึกษาตามอัธยาศัยเนื่องด้วยปัจจุบันมีคนในสังคมจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาด้านความสามารถทางการคิดเท่าที่ควรโดยเฉพาะกลุ่มคนวัยทำงานที่จบจากระบบการศึกษาไปแล้วดังนั้นสังคมจึงควรสร้างช่องทางพัฒนาความสามารถทางการคิดอย่างเป็นระบบให้กลุ่มวัยแรงงานให้มากขึ้นด้วยโดยจัดหลักสูตรการคิดระยะสั้นๆเพื่อพัฒนาคนกลุ่มนี้ได้ต่อเนื่องตลอดชีวิตไม่ใช่มุ่งแต่พัฒนาผู้เรียนในระบบการศึกษาเท่านั้นสร้างให้พ่อแม่ให้มีส่วนพัฒนาการคิดให้กับลูกมากขึ้นโดยการจัดฝึกอบรมและให้ความรู้กับพ่อแม่ให้มีทักษะการสอนด้านการคิดให้กับลูกของตนเองไม่ว่าจะเป็นวิธีการเลือกสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่มีส่วนพัฒนาทักษะการคิดได้เหมาะสมตามช่วงวัย การให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการหรือเทคนิคในการถามหรือตอบลูกที่มีส่วนในการพัฒนาด้านการคิดวิธีการฝึกให้เด็กสนใจตั้งใจจดจ่อกับการอ่านการกระตุ้นและไม่ตีกรอบการคิดการสนใจกับสิ่งที่เด็กบอกกล่าวการกระตุ้นและไม่ตีกรอบการคิดการฝึกให้เด็กคิดและจินตนาการ
2.สร้างสังคมให้เห็นคุณค่าและให้ความสำคัญของการคิดโดยการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในทุกที่ มิใช่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้นเพื่อเปิดทางและแนะแนวให้คนในสังคมมีความสามารถในการคิดเรื่องต่าง ๆ
3.รักการเรียนรู้ตลอดชีวิตในอนาคตโลกจะปรับตัวเข้าสู่การเป็นสังคมแห่งความรู้ซึ่งความรู้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความได้เปรียบทำให้คนจำเป็นต้องเป็นคนที่สามารถแสวงหาความรู้พัฒนาและสร้างองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้นำพาตนเองสู่ความสำเร็จได้ และนำพาประเทศชาติไปสู่การพัฒนามีความเจริญก้าวหน้าและสามารถแข่งขันได้
      จากการวิจัยเรื่องคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์แบ่งตามช่วงวัยพบว่าลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์ที่จะมีส่วนในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าและสอดคล้องกับโลกอนาคต มีด้วยกัน 10 ลักษณะหลักๆได้แก่ ขยัน อดทนและทุ่มเททำงานหนักมีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์ มีวิสัยทัศน์ ทำสิ่งต่างๆอย่างดีเลิศ รักการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีจิตสำนึกประชาธิปไตย เห็นคุณค่าเอกลักษณ์ความเป็นไทยมีจิตสำนึกเพื่อผู้อื่นและส่วนรวมและประหยัดอดออมซึ่งผลการวิจัยสอดคล้องกับสภาพที่เห็นและเป็นอยู่จริงในเมื่อวัยเยาว์ไม่ได้ผ่านการฝึกให้เป็นนักคิดนักอ่านเมื่อเติบใหญ่จึงติดนิสัยไม่ใฝ่รู้ใฝ่เรียน และเมื่อมาเป็นครูก็ยังมีนิสัยดังกล่าว(บางคน) ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องมีบทบาทชักนำ ทำให้บุคคลในองค์กรเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในโรงเรียนซึ่งแนวทางหนึ่งที่เห็นว่าน่าจะเป็นไปได้คือ
1.ผู้บริหารต้องทำตนเป็นแบบอย่างทำให้เห็นว่าเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนจ้ดเวลาสำหรับการอ่านหนังสือในโรงเรียน  สนองเจตนารมณ์วางทุกงานอ่านทุกวันและจัดเวลาให้ครูและนักเรียนอ่านหนังพร้อมกันทุกวันทุกคน
2.ทำข้อตกลงร่วมกันให้ครูแต่ละคนได้พูดเชิงวิชาการในที่ประชุมครูครั้งละ 5 นาทีหมุนเวียนกันไปทุกคน
3.ส่งเสริมให้ครูเขียนบทความทางวิชาการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
4.จัดหาหนังสือตำราสารคดีหรือบทความใหม่ๆ หมุนเวียนมาให้ครูอ่าน
5.จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมและสถานที่ให้เอื้อกับการอ่านหนังสือและมีมุมต่างๆที่ให้ความรู้อยู่ทั่วไปในโรงเรียน
6ให้ครูเวรประจำวันได้จัดหาบทความทางวิชาการมาเล่าให้นักเรียนฟังนอกเหนือจากเรื่องของระเบียบวินัย ความประพฤติของนักเรียน
7.ให้ครูรวบรวมสรุปการอ่านบทความต่างๆประจำเดือน ทุกเดือนเสนอผู้บริหาร
8.สนับสนุนส่งเสริมให้ครูทำผลงานวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ
9.จัดส่งครูเข้ารับการประชุมอบรบสัมมนาทางวิชาการตามโอกาสอันควร
      สำหรับการปลูกฝังให้นักเรียนเป็นนักคิดใฝ่เรียน
ใฝ่รู้เพื่อเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้นั้นเห็นว่าควรดำเนินการดังนี้
1.บิดามารดาผู้ปกครองต้องสละเวลาให้กับบุตรหลาน ในการติดตามให้ลูกทำการบ้านอ่านหนังสือทุกวันและพ่อ แม่ ผู้ปกครองเองก็ต้องทำตัวให้เป็นแบบอย่าง  ทำตัวเป็นนักอ่านให้ลูกได้เห็นอย่างน้อยก็อ่านหนังสือพิมพ์หรือวารสารที่ตนสนใจโดยควรรับประจำสักเล่มเมื่อมีโอกาสไปร้านหนังสือก็ชวนลูกไปด้วยและเลือกซื้อมาอ่านที่บ้านบ้าง
2.สื่อของรัฐและเอกชนต้องนำเสนอเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ ให้ความรู้ครอบคลุมถึงบุคคลในทุกอาชีพ  ลดการโฆษณาธุรกิจและเกมโชว์ที่ไม่มีสาระไม่ควรมีภาพที่ล่อแหลมออกสู่สายตาทั้งโทรทัศน์  สิ่งพิมพ์และสื่อมัลติมีเดียอื่นๆ
3.ผู้นำชุมชนผู้นำท้องถิ่นต้องมีบทบาทในการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ในสังคมหมู่บ้านโดยการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เพื่ออาชีพการจัดห้องสมุดหมู่บ้านหรือการจัดเวทีเสวนาบ่อยๆในหมู่บ้านเพื่อแก้ปัญหาต่างๆซึ่งล้วนแต่มีผลต่อการรับรู้ของนักเรียนเยาวชน
4.วัดควรเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ให้มากกว่าปัจจุบันในชนบทมักประสบปัญหาขาดแคลนพระที่จะให้แสงสว่างทางปัญญากับญาติโยมดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะได้เข้ามาดูแลด้วย
      โดยสรุปแล้วการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้และการสร้างบุคคลให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้เป็นเรื่องจำเป็นในขณะที่วิทยาการก้าวหน้าไปทุกวันแม้เราหยุดอยู่กับที่เพียง1วันก็ล้าหลังแล้วดังนั้นหากไม่ส่งเสริม ผลักดันให้เยาวชนไทยเป็นผู้ใฝ่เรียนใฝ่รู้แล้ว อนาคตเราก็ไม่อาจทัดเทียมกับอารยประเทศและยังจะต้องพึ่งพาประเทศมหาอำนาจตลอดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น