เกริ่นนำ

.......สวัสดีท่านผู้ชมที่เข้ามาชม Blogger นี้ ซึ่งเป็นสื่อประกอบการเรียน "วิชาความเป็นครู" ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โดยผสมผสานระหว่างการเรียนรู้ในห้องเรียนปกติกับ Webblog มีความสะดวกสะบาย ได้ทั้งข้อมูล ความรู้ บทความ รูปภาพ ที่เกี่้ยวข้องกับความเป็นครู ช่วยให้ผู้เรียนมีอิสระในการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง ยิ่งไปกว่านี้เรายังนำข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างไกล มาตรวจสอบและเรียนรู้อย่างลึกซึ้งในห้องเรียนปกติ หวังว่า Webblog นี้จะมีประโยชน์กับผู้ชมไม่มากก็น้อย

บทที่ 5

ความหมายของคุณธรรม

                คุณธรรม ตามรูปศัพท์แปลว่า สภาพของคุณงามความดี ซึ่งพระปิฎก (ป.อ.ปยุโต 2538 : 34) อธิบายความหมายไว้ว่า คุณธรรมคือ ธรรมที่เป็นคุณ ความดีงาม สภาพที่เกื้อกูล
พระเทพวิสุทธิเมธี (พุทธทาสภิกขุ 2529 : 90) อธิบายไว้ว่าคุณธรรมหมายถึงคุณสมบัติฝ่ายดี เป็นที่ตั้งหรือเป็นประโยชน์แก่สันติภาพหรือสันติสุข คุณธรรมเป็นส่วนที่ต้องอบรมโดยเฉพาะ หรือให้เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมกับที่ต้องการ
                คุณธรรม (Ethics) ตามแนวคิดในวงการการศึกษาตะวันตกนั้นมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplines) คือเป็นแนวคิดทั้งในลักษณะวิชาปรัชญา จิตวิทยา สังคมวิทยาและการศึกษาแนวความคิดของนักวิชาการตะวันตกค่อนข้างหลากหลายและมีพื้นที่ของศาสตร์การศึกษาที่แตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน
ซามูเอล สตัมพ์ (Samul E.Stumpf 1977 : 3) อธิบายความหมายของคุณธรรมในเชิงวิชาปรัชญาว่า คุณธรรมเป็นการประพฤติปฏิบัติเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่าถูกหรือผิด ดีหรือเลว พึงประสงค์หรือไม่พึงประสงค์ มีคุณค่าหรือไร้ค่า นอกจากนี้คุณธรรมยังเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ หน้าที่ พฤติกรรมที่ยอมรับนับถือต่างๆของแต่ละบุคคลอีกด้วย อย่างไรก็ดี สตัมพ์อธิบายว่า ในเรื่องทฤษฏีคุณธรรมของลัทธิปรัชญานั้น จะไม่ใช้ตอบคำถามว่าคุณธรรมใดดีกว่า หรือถูกต้องกว่า
เบอร์ตัน พอร์ตเตอร์ (Burton F.Porter 1980 : 233) ชี้แจงว่าคุณธรรมเป็นปัจจัยการดำรงชีวิตของบุคคลในสังคม คนส่วนใหญ่ดำรงชีวิตในสังคมนั้นไม่ใช่แต่การมีชีวิตอยู่เพียงเท่านั้น แต่ต้องประเมินและเลือกวิถีชีวิตที่แต่ละคนคิดว่าน่าจะดีกว่าหรือควรดีกว่า ปัจจัยในการเลือกนั้นย่อมเกี่ยวข้องกับระบบคุณธรรมทั้งระบบคุณธรรมของสังคมและส่วนบุคคล คุณธรรมของสังคมย่อมส่งผลกระทบต่อบุคคลด้วย อย่างไรก็ดีคุณธรรมของคนในสังคมหนึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องดีหรือเป็นสิ่งที่ถูกต้องในอีกสังคมหนึ่งก็ได้
จากความหมายดังกล่าวนั้น อาจจะกล่าวได้ว่าคุณธรรมของครูคือ สภาพที่เกื้อกุลครูพระเทพวิสุทธิเมธี (พุทธธาตุภิกขุ 2529 : 91) อธิบายว่า คุณธรรมของครูคือสภาพของครูที่สมบูรณ์ด้วยสิทธิและหน้าที่ของครูนั่นเอง
ความหมายของจริยธรรม
         จริย แปลว่า กิริยา ความประพฤติ การปฏิบัติ ฉะนั้นจริยธรรมจึงหมายถึงแนวทางการปฏิบัติสำหรับมนุษย์เพื่อให้บรรลุถึงสภาพชีวิตที่พึงประสงค์
พระเทพวิสุทธิเมธี (พุทธทาสภิกขุ 2529 : 215 ) อธิบายว่า จริยธรรมหมายถึง ตัวของกฎที่ต้องปฏิบัติ ส่วนจริยศาสตร์ คือเหตุผลสำหรับใช้อธิบายกฎที่ต้อปฏิบัติ มีลักษณ้เป็นปรัชญา และเมื่อรวมทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันจะเรียกว่าจริยศึกษา
พจนานุกรม Collin Coluild (1987 : 937) อธิบายว่าจริยธรรมมีความหมาย 2 นัย
คือ
1. โดยนัยที่เป็นภาวะทางจิตใจ (Idea) นั้น จริยธรรมแปลว่า ความคิดที่ว่าบางพฤติกรรมเป็นสิ่งที่ถูกต้องและควรทำและเป็นที่ยอมรับและบางพฤติกกรมเป็นสิ่งที่ผิดหรือเลว ทั้งนี้เป็นไปได้โดยความคิดเห็นของแต่ละบุคคลและโดยความคิดเห็นของสังคม นอกจากนี้จริยธรรมยังเป็นคุณภาพหรือสถานะในการดำเนินชีวิตอยู่อย่างถูกต้อง
2. จริยธรรมเป็นระบบของลักษณะการและคุณค่าที่เกี่ยวพันกับพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นทียอมรับของสังคมหรือเฉพาะกลุ่มคน
          จริยธรรม แปลว่า สิ่งที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ หรือกฎที่ควรปฏิบัติในทางที่ดี ที่ควรกระทำเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีหรือมีสันติสุขในสังคม ในการเทศนาสั่งสอนของพระสงฆ์ในศาสนาพุธนั้นมีสองแบบคือเทศนาธรรม หมายถึงการบอกหรือการอธิบายข้อความต่างๆ ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีประโยชน์หรือเป้าประสงค์อย่างไร ส่วนเทศนาจริยะคือ การอบรมและการอธิบายสิ่งที่พึงกระทำหรือบอกถึงพฤติปฏิบัติในทางที่ดี
          ดวงเดือนพันธุมนาวิน (2524 : 3) อธิบายว่า จริยธรรม (Morality) หมายถึงลักษณะทางสังคมหลายลักษณะของมนุษย์ และมีขอบเขตรวมถึงพฤติกรรมทางสังคมลักษณะต่างๆ ด้วยลักษณะและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม จะมีคุณสมบัติสองประเภท คือ เป็นลักษณะที่สังคมต้องการกับลักษณะสังคมไม่ต้องการ ให้มีอยู่ในตัวสมาชิกของสังคมนั้นๆ พฤติกรรมที่สังคมนิยมชมชอบ ให้การสนับสนุน และผู้กระทำส่วนมากเกิดความพอใจว่าการกระทะนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม ส่วนอีกพฤติกรรมที่สังคมไม่นิยมหรือไม่ตองการให้สมาชิกมีอยู่เป็นการกระทำที่สังคมลงโทษหรือพยายามจัดและผู้กระทำพฤติกรรมนั้นรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและสมควร
           ลักษณะเชิงจริยธรรมของมนุษย์นั้น จำแนกได้หลายลักษณะ ได้แก่ ความรู้เชิงจริยธรรม ทัศนคติเชิงจริยธรรม การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม และพฤติกรรมเชิงจริยธรรมต่างๆเป็นต้น
           ความรู้เชิงจริยธรรม หมายความว่า ในสังคมของตนนั้นถือว่าการกระทำชนิดใดดีควรทำ และการกระทำชนิดใดควรงดเว้น ลักษณะพฤติกรรมประเภทใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมเพียงใด ปริมาณความรู้เชิงจริยธรรมหรือความรู้เกี่ยวกับค่านิยมทางสังคมนี้ขึ้นอยู่กับอายุ ระดับการศึกษาและพัฒนาการทางสติปัญญาของแต่ละบุคคลด้วย ความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางสังคมและศาสนาส่วนใหญ่
           ทัศนคติเชิงจริยธรรม คือ ความรู้สึกของบุคคลเกี่ยวกับลักษณะหรือพฤติกรรมเชิงจริยธรรมต่างๆ ว่าชอบหรือไม่ชอบลักษณะนั้นๆเพียงใด ทัศนคติเชิงจริยธรรมของบุคคลส่วนมากจะสอดคล้องกับค่านิยมในสังคมนั้น แต่บุคคลบางคนในสถานการณ์ปกติอาจมีทัศนคติแตกต่างไปจากค่านิยมของแต่ละบุคคล
            เหตุผลเชิงจริยธรรม หมายถึงการที่บุคคลใช้เหตุผลในการเลือกที่จะกระทำ หรือเลือกที่จะไม่กระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เหตุผลที่จะกล่าวถึงนี้จะแสดงให้เห็นเหตุจูงใจหรือแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลังการกระทำต่างๆของบุคคล
            พฤติกรรมเชิงจริยธรรม หมายความถึง การที่บุคคลแสดงพฤติกรรมที่สังคมนิยมชมชอบหรืองดเว้นการแสดงพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์หรือค่านิยมในสังคมนั้น ตัวอย่างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมเช่น การให้ทาน การเสียสละเพื่อส่วนรวม และการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก การโกงสิ่งของเงินทอง การลักขโมย การกล่าวเท็จเป็นต้น พฤติกรรมจริยธรรมเป็นพฤติกรรมที่สังคมให้ความสำคัญมากกว่าด้านอื่นๆ ทั้งนี้เพราะการกระทำในทางที่ดีและเลวของบุคคลนั้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความผาสุกและความวุ่นวายของส่วนรวม คุณธรรมกับจริยธรรมเป็นเรื่องเดียวเกี่ยวพันกัน อาจกล่าวได้ว่า คุณธรรมเป็นธรรมฝ่ายดีที่อยู่ภายในจิตใจของบุคคล การแสดงออกของคุณธรรมให้ประจักษ์นั้นเรียกว่าจริยธรรมนั่นเอง ส่วนคำว่าจริยศาสตร์คือเหตุผลที่อธิบายสำหรับข้อหรือกฎที่ต้องปฏิบัติเป็นหลักเกณฑ์ทางวิชาปรัชญาที่เกี่ยวกับส่วนที่เรียกว่าจริยธรรม
ความหมายของจรรยาบรรณ (Moral Codes)
        เฟรด เฟลดแมน (Fred Feldman 1978 : 67) กล่าวว่าจรรยาบรรณคือกลุ่มของกฎกติกาที่สมบูรณ์ที่ครอบคลุมแนวประพฤติปฏิบัติ ในทุกๆสภาวการณ์
จรรยาบรรณ ตามรูปศัพท์นั้นคือ จรรยา กับ บรรณ คำว่าจริยา มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าจริย ซึ่งหมายถึง กริยาซึ่งควรปฏิบัติ สิ่งที่พึงปฏิบัติ หรือว่าสิ่งที่ต้องปฏิบัติ ในวงการวิชาชีพต่างๆ นั้นนิยมใช้คำว่า จรรยาซึ่งแปลว่า กิริยาที่ควรปฏิบัติในหมู่คณะ ส่วนคำว่าบรรณ แปลว่าหนังสือ เมื่อรวมคำขึ้นใหม่ว่าจรรยาบรรณ จึงหมายถึงความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ กำหนดขึ้นเพื่อรักษาชื่อเสียงเกียรติคุณของวิชาชีพนั้นๆ โดยบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

                จรรยาบรรณจึงเป็นกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติโดยกำหนดไว้เป็นหนังสือที่ชัดเจน สำหรับเป็นกติกาของหมู่คณะในวงการเดียวกัน เป็นกฎที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนก็จะถูกรังเกียจหรือต่อต้าน อันเป็นการลงโทษทางสังคม สำหรับวิชาชีชั้นสูงหลายสาขาอาชีพมักมีกฎหมายรองรับด้วย ฉะนั้นเมื่อผู้ประกอบวิชาชีพคนใดผิดจรรยาบรรณ จึงถูกลงโทษตามกฎหมายด้วย

                อาจสรุปความเกี่ยวพันระหว่างคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณได้ว่า คุณธรรมเป็นหลักเกณฑ์ฝ่ายดีที่เป็นสำนึกที่เกิดขึ้นในจิตใจมนุษย์ที่ได้รับการอบรมสั่งสอนแล้ว ส่วนจริยธรรมเป็นกฎของการประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้อง ที่ควรเป็นที่ยอมรับ ส่วนจรรยาบรรณนั้นเป็นข้อกติกาเพื่อกำหนดให้เพื่อนสมาชิกในกลุ่มต้องประพฤติในสภาวการณ์ต่างๆนั่นเอง

จรรยาบรรณวิชาชีพในอดีตกาล

                พัฒนาการของจรรยาบรรณวิชาชีพนั้นมีมาตั้งแต่สังคมมนุษย์ตั้งแต่อดีตกาลแล้ว ยิ่งอาชีพที่ต้องใช้วิชาความรู้ที่เฉพาะเจาะจงในการประกอบการ ในอดีตนั้นมักจะถ่ายทอดกันทางสายเลือดเป็นการถ่ายทอดให้กับทายาทหรือผู้สืบสกุล เช่นวิชาชีพปุโรหิต วิชาชีพแพทย์ วิชาชีพช่างบางแขนง เป็นต้น

                ตามความหมายที่ว่าจรรยาบรรณคือกฎหรือข้อบังคับที่ควรปฏิบัติในหมู่คณะนั้น จรรยาบรรณอาชีพมีการกำหนดและใช้กันในหมู่ผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกันมาตั้งแต่อดีตกาล ดังจะเห็นได้จากเรื่องราวชีวิตของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ที่อุทิศตนรักษาผู้ป่วยไม่ว่าเศรษฐีหรือยาจก แม้เมื่อรักษาโรคของพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดินจนหาย เมื่อทรงพระราชทานค่าตอบแทนจำนวนมาก หมอชีวกกลับกราบทูลว่าตนรักษาโดยถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น (พระธรรมปิฏก 2538 : 57) ส่วนหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้น มีหลักฐานเก่าแก่ที่เรียกว่าคำสาบานของฮิปโปเครติสซึ่งเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่หลงเหลืออยู่

จรรยาบรรณวิชาชีพในปัจจุบัน

                การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและระบบเศรษฐกิจของมนุษย์จากยุคเกษตรกรรมมาสู่ยุคอุตสาหกรรมนั้น มีผลต่อวิถีชีวิตของมนุษย์อย่างมาก การจัดระบบระเบียบทางสังคมถูกกระทบและค่อยๆเปลี่ยนแปลงไป วงการอาชีพต่างๆ มีการปรับตัว ปรับกิจกรรม และวิธีประกอบการ โดยเฉพาะอาชีพหลายอาชีพที่มีผลต่อความสงบสุข สันติสุขและความก้าวหน้าของสังคม จำเป็นจะต้องมีการจัดการควบคุม ตลอดจนการประกันมาตรฐานการให้บริการแก่สังคม นักปรัชญาได้เสนอทฤษฏีเกี่ยวกับคุณค่าและคุณธรรมสังคม เสนอแนวคิดเรื่องจริยธรรมในการประกอบอาชีพขึ้นในลักษณะกลุ่มความคิดต่างๆ ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพหลายสาขาต่างก็รับไปดำเนินการในลักษณะการจัดตั้งองค์กรวิชาชีพหรือสถาบันวิชาชีพขึ้น แล้วจึงตรากติกาเป็นข้อประพฤติปฏิบัติตนของสมาชิกผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกัน และได้ใช้ข้อกำหนดต่างๆเหล่านั้นกำกับดูแลการประพฤติตลอดจนมาตรฐานการประกอบวิชาชีพของมวลสมาชิก

                ไพพรรณ เกียรติโชติชัย (2536:128) สรุปความสำคัญของจรรยาบรรณวิชาชีพไว้ดังนี้คือ
1.เพื่อควบคุมมาตรฐาน ประกันคุณภาพ และปริมาณที่ถูกต้องในการประกอบวิชาชีพ
2.เพื่อส่งเสริมมาตรฐานคุณภาพและปริมาณที่ดี มีคุณค่าและเผยแพร่ให้รู้จักเป็นที่นิยมเชื่อถือของผู้รับผิดชอบ
3.เพื่อควบคุมจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพ ช่วยให้มีความมั่นคงความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม ฯลฯ
4.เพื่อส่งเสริมคุณธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพอาชีพ ให้มีเมตตากรุณา เห็นอกเห็นใจสามัคคีกัน ฯลฯ
5.เพื่อลดปัญหาการประพฤติผิดต่างๆ ลดปัญหาการคดโกง ฉ้อฉล เอารัดเอาเปรียบ โดยใช้ข้อบังคับลดการเห็นแก่ได้ ตลอดจนความมักง่าย ความใจแคบไม่เสียสละ ฯลฯ
6.เพื่อเน้นภาพลักษณ์ที่ดีของผู้ประกอบวิชาชีพในด้านการมีจริยธรรมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ดารเห็นประโยชน์ของส่วนรวม การรับผิดชอบในหน้าทีการงานและอาชีพอย่างแท้จริง ฯลฯ
7.เพื่อพิทักษ์สิทธิในการประกอบวิชาชีพตามกฎหมาย และควบคุมวิชาชีพให้ดำเนินตามครรลองครองธรรม

                ลักษณะของจริยธรรมดังกล่าวเป็นข้อกำหนดที่เขียนไว้เป็นจรรยาบรรณของวิชาชีพที่เน้นถึงความดีงาม ที่ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติ ซึ่งเป็นคุณธรรมที่สำคัญและจำเป็นต่อการครองชีวิตของผู้ประกอบวิชาชีพนั้นๆ ประพฤติปฏิบัติตนตามหลักการทางวิชาชีพซึ่งจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะคือ
1.การประกอบการ ต้องซื่อสัตย์ รักษาความลับ ไม่ใช้อาชีพเพื่อประโยชน์ส่วนตน
2.การครองตน ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีไม่ประพฤติตนไปในทางที่เสื่อมเสียการเป็นคนดี
3. การดำรงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์และมาตรฐานวิชาชีพ ด้วยกรประพฤติตามจรรยาบรรณไม่ใช้วิชาชีพเป็นเครื่องมือหากิน พัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าทันต่อการเปลี่ยนทางวิทยาการ

                สังคมปัจจุบันมีการเรียกร้องให้ผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูงต่างๆ คำนึงถึงจรรยาบรรณวิชาชีพค่อนข้างมากขึ้น อาจจะเป็นไปได้ว่าจริยธรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ยุคนี้เบี่ยงเบนไปจากหลักการหรือระบบคุณธรรมที่เคยยึดถือกันมา ผลกระทบจากการไม่เคร่งครัดต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป้นวิชาชีพแพทย์ นักการเมือง นักเมือง นักการเงินการธนาคาร วิศวกร หรือแม้แต่ครู ทำให้เกิดความเสื่อมเสียและทำให้สังคมไม่เป็นสุขทั้งสิ้น
ความเป็นมาของจรรยาบรรณครูไทย
        จรรยาบรรณครู หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติหรือการปฏิบัติตนของผู้ประกอบวิชาชีพครู เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของความเป็นครู
        จรรยาบรรณของครูไทยนั้นได้มีการพระราชบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรและมีกฎหมายรับรองเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2506 โดยอาศัยอำนาจบังคับของ พ.ร.บ ครู พ.ศ.2488 ที่กำหนดให้ครุสภาเป็นสถาบันผู้ออกระเบียบบังคับได้ เรียกว่าระเบียบประเพณีของครูว่าด้วยจรรยาบรรณครู 10 ข้อ ระเบียบทั้งสองฉบับนี้มีผลบังคับตามกฎหมายแต่การแยกระเบียบเป็นจรรยามารยาทกับวินัยทำให้ยุ่งยากในการใช้บังคับ สับสนทั้งผู้ใช้และผู้ปฏิบัติ ภายหลังคุรุสภาจึงได้ปรับปรุงยุบรวมระเบียบทั้งสองฉบับ แล้วกำหนดขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ.2526 เรียกว่าระบบคุรุสภา ว่าด้วยจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบปะเพณีของครู พ.ศ. 2526 จนปี พ.ศ.2539 คุรุสภาได้ปรับปรุงข้อบังคับเกี่ยวกับจรรยาบรรณของครูขึ้นใหม่ในอีกครั้งโดยตัดข้อความที่มีลักษณะเป็นวินัยออกไป เหลือเพียงบทบัญญัติที่มีลักษณะที่เป็นจริยธรรมหรือจรรยาบรรณละมีเพียง 9 ข้อ เรียกว่าระเบียบคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539
จรรยาบรรณครูไทยในปัจจุบัน
        คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาประกาศใช้ระเบียบคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539 ขึ้นเพื่อใช้แทนระเบียบคุรุสภาว่า ด้วยจรรยามารยาทและระเบียบประเพณีของครูฉบับเดิม และประกาศใช้ ณ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 มีทั้งหมด 9 ข้อดังนี้
1. ครูต้องรกและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษษ เล่านเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2. ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3. ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
4. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางการ สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์
5. ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
6. ครูย่อมพัฒนาตนเองในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคมการเมืองอยู่เสมอ
7. ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
8. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
9. ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติ เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมปัญญาและวัฒนธรรมไทย

                จรรยาบรรณทั้ง 9 ข้อของคุรุสภานั้น อาจจำแนกเป็น 3 กลุ่ม ข้อ 1-5 เป็นบทบัญญัติที่ค่อนข้างเข้มงวด เป็นจรรยาบรรณส่วนที่มุ่งกำหนดข้อปฏิบัติของครูต่อศิษย์โดยตรงเป็น หน้าที่และความรับผิดชอบของครูต่อศิษย์ ต่อวิชาชีพและสังคม เป็นคุณลักษณะของครูที่สังคมประสงค์นั่นเอง ส่วนข้อ 6 และข้อ 7 เป็นจรรยาบรรณครูที่เกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติตนเพื่อพัฒนาตนเองให้เหมาะกับวิชาชีพ ให้เหมาะสมกับวิชาชีพครู ส่วนข้อที่ 8 และ 9 เป็นจรรยาบรรณที่ครูพึงปฏิบัติต่อสภาพแวดล้อมอันได้แก่ เพื่อนครู ชุมชน และท้องถิ่น ที่ครูดำรงตนอยู่ร่วมกัน

                อย่างไรก็ดีบทบัญญัติจรรยาบรรณทั้ง 9 ข้อนี้ บังคับใช้ตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ. 2488 มีผลกับครูซึ่งเป็นสมาชิกของคุรุสภาเท่านั้น กล่าวคือ ตามมาตรา 24 ของ พ.ร.บ. ครูพ.ศ.2488 กำหนดให้มีครูเพียง 4 กลุ่มเท่านั้นได้แก่ (1) ข้าราชการครู คือข้าราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการซึ่งบรรจุและแต่งตั้ง พ.ร.บ. ข้าราชการครู พ.ศ. 2533 (2) พนักงานครูเทศบาลคือพนักงานเทศบาลต่างๆ ทั้งประเทศเฉพาะพนักงานผู้ดำรงตำแหน่งผู้สอนในสถานศึกษาของเทศบาล (3) ข้าราชครูกรุงเทพมหานคร คือข้าราชการครูกรุงเทพมหานครที่สังกัดสถานศึกษาของกรุงเทพมหานคร และ (4) ผู้สอนในโรงเรียนเอกชนซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการโดยต้องได้รับเงินเดือนประจำ ผู้ประกอบวิชาชีพครูในสังกัดอื่นๆ ยังมีอีกมากมาย ได้แก่ ผู้สอนในมหาวิทยาลัยต่างๆ ผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงกลาโหม ผู้สอนในสังกัดของกระทรวงสาธารณะสุขตลอดจนผู้สอนในสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงอื่นๆ หรือรัฐวิสาหกิจอีกด้วย ฉะนั้นการกำหนดจรรยาบรรณครูสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครูอย่างเป็นกิจจะลักษณะที่ครอบคลุมที่ครอบคลุมทั้งวงการครูจึงยังไม่มีองค์กรหรือสถาบันใดจัดขึ้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติจึงจัดสัมมนาเรื่องจรรยาบรรณสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครูขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523 และสรุปเป็นรายงานโดยแยกเป็นประเด็นเป็น 3 หมวดคือ หมวดที่ 1 ว่าด้วยอุดมการณ์ของครู หมวดที่ 2 ว่าด้วยเอกลักษณ์ของครูและหมวดที่ 3 ว่าด้วยมาตรฐานการปฏิบัติตนของครู

จรรยาบรรณครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
       สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติสรุปผลการศึกษาเกี่ยวกับจรรยาบรรณครู ในหมวดที่ 3 ว่าด้วยมาตรฐานการปฏิบัติตนของครูนั้น กำหนดว่าบทบัญญัติในหมวดนี้เป็นสิ่งที่ครูต้องถือปฏิบัติมี 12 ข้อได้แก่
1. ต้องรักษาความสามัคคี ชื่อเสียงของหมู่คณะ และสถานศึกษาที่กำหนดอยู่
2. ต้องไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนา
3. ต้องรักษาชื่อเสียงมิให้ขึ้นชื่อว่าประพฤติชั่ว
4. ไม่ละทิ้งการสอน อุทิศเวลาให้แก่ศิษย์ และตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละ
5. ต้องรักษาความลับของศิษย์ เพื่อนร่วมงาน และสถานศึกษา
6. ต้องถือปฏิบัติแบบธรรมเนียมที่ดีของศาสนา
7. ต้องประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตและเที่ยงธรรมโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์อันมิชอบ
8. ต้องไม่ปิดบังอำพราง หรือบิดเบือนเนื้อหาสาระทางวิชาการ
9. ต้องไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามเพื่อนร่วมงาน และบุคคลใดๆ เชื่อฟังและไม่กระด้างกระเดื่องต่อผ้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งการในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
10. ต้องไม่เบียดเบียนใช้แรงงานหรือนำผลงานของศิษย์ไปเพื่อประโยชน์
11. ต้องไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษยชาติ
12. ต้องไม่นำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน
      จรรยาบรรณครูของคณะกรรมการการศึกษาแห่ชาติไม่มีกฎหมายรับรองอย่างเป็นทางการ จึงยังไม่มีที่สิ้นสุดในการนำไปใช้ในวงการครูทั่วไป

คุณธรรมและจรรยาบรรณที่พึงประสงค์ของครุคืออะไร
      คุณธรรม ซึ่งหมายถึง คุณสมบัติที่เป้นความดี ความถูกต้อง ซึ่งมีอยู่ภายในใจของบุคคลช่วยให้พร้อมที่จะทำพฤติกรรมต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
      คุณธรรม เป็นหลักที่มนุษย์ถือเป็นแนวทางที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิต เป็นหลักแห่งความประพฤติปฏิบัติและความรู้ความคิดที่ดีงามนั่นเอง
      คุณธรรมของครู หมายถึง คุณสมบัติที่เป็นความดี ความถูกต้องเหมาะสมซึ่งมีอยู่ภายในจิตใจของผู้เป็นครูและเป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบวิชาชีพครูกระทำหน้าที่ของครูได้อย่างสมบูรณ์

      ทัศนคติเชิงจริยธรรม คือ ความรู้สึกของบุคคลเกี่ยวกับลักษณะหรือพฤติกรรมเชิงจริยธรรมต่างๆ ว่าชอบหรือไม่ชอบลักษณะนั้นๆเพียงใด ทัศนคติเชิงจริยธรรมของบุคคลส่วนมากจะสอดคล้องกับค่านิยมในสังคมนั้น แต่บุคคลบางคนในสถานการณ์ปกติอาจมีทัศนคติแตกต่างไปจากค่านิยมของแต่ละบุคคล
เหตุผลเชิงจริยธรรม หมายถึงการที่บุคคลใช้เหตุผลในการเลือกที่จะกระทำ หรือเลือกที่จะไม่กระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เหตุผลที่จะกล่าวถึงนี้จะแสดงให้เห็นเหตุจูงใจหรือแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลังการกระทำต่างๆของบุคคล
พฤติกรรมเชิงจริยธรรม หมายความถึงการที่บุคคลแสดงพฤติกรรมที่สังคมนิยมชมชอบหรืองดเว้นการแสดงพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์หรือค่านิยมในสังคมนั้น ตัวอย่างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมเช่น การให้ทาน การเสียสละเพื่อส่วนรวม และการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก การโกงสิ่งของเงินทอง การลักขโมย การกล่าวเท็จเป็นต้น พฤติกรรมจริยธรรมเป็นพฤติกรรมที่สังคมให้ความสำคัญมากกว่าด้านอื่นๆ ทั้งนี้เพราะการกระทำในทางที่ดีและเลวของบุคคลนั้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความผาสุกและความวุ่นวายของส่วนรวม
คุณธรรมกับจริยธรรมเป็นเรื่องเดียวเกี่ยวพันกัน อาจกล่าวได้ว่า คุณธรรมเป็นธรรมฝ่ายดีที่อยู่ภายในจิตใจของบุคคล การแสดงออกของคุณธรรมให้ประจักษ์นั้นเรียกว่าจริยธรรมนั่นเอง
ส่วนคำว่าจริยศาสตร์คือเหตุผลที่อธิบายสำหรับข้อหรือกฎที่ต้องปฏิบัติเป็นหลักเกณฑ์ทางวิชาปรัชญาที่เกี่ยวกับส่วนที่เรียกว่าจริยธรรม

จรรยาบรรณครูไทยในปัจจุบัน
      คณะกรรมการอำนวยคุรุสภาว่า ด้วยจรรยามรรยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครูฉบับเดิม และได้ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2539 มีทั้งหมด 9 ข้อดังนี้
1.ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษา เล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2.ครูต้องอบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3.ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนอย่างเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
4.ครูต้องไม่ทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
5.ครูต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใดๆอันเป็นการหาผลประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
6.ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ
7.ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
8.ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชุนในทางสร้างสรรค์
9.ครูพึงปฏิบัติ เป็นผู้นำในทางอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย

            จรรยาบรรณทั้ง 9 ข้อของคุรุสภานั้น อาจจำแนกเป็น 3 กลุ่ม คือข้อ 1-5 เป็นบทบัญญัติที่ค่อนข้างเข้มงวด เป็นจรรยาบรรณส่วนที่มุ่งกำหนดข้อปฏิบัติของครูต่อศิษย์โดยตรง เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของครูต่อศิษย์ ต่อวิชาชีพ และต่อสังคม เป็นคุณลักษณะของครูที่สังคมประสงค์นั่นเอง ส่วนข้อ 6 และข้อ 7 เป็นจรรยาบรรณครูเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติตนเพื่อพัฒนาตนเองให้เหมาะกับวิชาชีพครู ส่วนข้อ 8และ9 เป็นจรรยาบรรณที่ครูพึงปฏิบัติต่อสภาพแวดล้อมอันได้แก่ เพื่อนครู ชุมชน และท้องถิ่นที่ครูดำรงอยู่ร่วมด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น