เกริ่นนำ

.......สวัสดีท่านผู้ชมที่เข้ามาชม Blogger นี้ ซึ่งเป็นสื่อประกอบการเรียน "วิชาความเป็นครู" ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โดยผสมผสานระหว่างการเรียนรู้ในห้องเรียนปกติกับ Webblog มีความสะดวกสะบาย ได้ทั้งข้อมูล ความรู้ บทความ รูปภาพ ที่เกี่้ยวข้องกับความเป็นครู ช่วยให้ผู้เรียนมีอิสระในการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง ยิ่งไปกว่านี้เรายังนำข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างไกล มาตรวจสอบและเรียนรู้อย่างลึกซึ้งในห้องเรียนปกติ หวังว่า Webblog นี้จะมีประโยชน์กับผู้ชมไม่มากก็น้อย

บทที่ 3

ความหมายของคำว่า"ครู"
ความนำ
     ในสังคมไทยนั้นมีคำกล่าวทั้งที่เป็นคำพังเพยและสำนวนคำคมเกี่ยวกับครูมากมาย อาจจะมากกว่าบุคคลใดๆ หรืออาชีพใดๆ เพราะไม่มีใครที่ไม่เคยถูกแนะนำสั่งสอน หรืออบรมบ่มนิสัยมาเลยในสังคมมนุษย์ คำกล่าวที่ว่า แม่เป็นครูคนแรกของลูก พ่อแม่คือครูประจำบ้าน เราก็ศิษย์มีครูคือแม่พิมพ์ของชาติ ครูคือเรือจ้างชีวิตครูประดุจท่าน้ำ ครูคือเปลวเทียน ครูคือผู้สร้างโลก ครูคือผู้นำทางชีวิต ครูคือผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์ ฯลฯ คำเปรียบเทียบมากมายดังกล่าวเป็นไปตามพื้นฐานความคิดและค่านิยมของผู้นิยามนั้นๆ ฉะนั้นครูคืออะไรกันแน่การเป็นครูนั้นเป็นอย่างไรและครูมีความสำคัญฉันใด คำถามเหล่านี้ควรมีคำตอบที่ชัดเจน ที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งคือ การที่จะเป็นครูคามที่ตนปรารถนานั้นมีวิธีการอย่างไร
ครู อาจารย์ และคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน
     ในสังคมปัจจุบันมีการใช้คำว่า ครูและอาจารย์ กันในแทบทุกวงการอาชีพ จนดูเหมือนว่าใครก็ตั้งตัวเป็นครูหรืออาจารย์กันได้โดยง่าย อันที่จริงความหมายของครูและอาจารย์ในลักษณะวิชาชีพหรือวิชาชีพชั้นสูง (Profession) นั้นมีความหมายกว้างขวางและลึกซึ้งกว่าการใช้เรียกกันในวงการอาชีพต่างๆ มากนัก

ความหมายของครู
     พระเทพวิสุทธิเมธี (พุทธทาสภิกขุ 2529 : 92-94) อธิบายความหมายและความเป็นมาของคำว่าครูไว้ว่า คำว่าครูในสมัยโบราณในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นเจ้าของคำนี้ เป็นคำที่สูงมาก เป็นผู้เปิดประทางตูวิญญาณ แล้วก็นำไปเดินทางวิญญาณ ไปสู่คุณธรรมเบื้องสูง เป็นเรื่องทางจิตโดยเฉพาะ มิได้หมายถึงเรื่องวัตถุ หรือมรรยาท หรือแม้แต่อาชีพ จึงมีน้อยมาก ครูนั้นมักจะไปทำหน้าที่เป็นปุโรหิตของพระราชา หรืออิสระชนซึ่งมีอำนาจวาสนา มีหน้าที่การงานอันใหญ่หลวง
     คำว่าครู มักแปลกันมาแต่เพียงว่าเป็นผู้ควรเคารพ หรือมีความหนัก ที่เป็นหนี้อยู่เหนือศีรษะ เป็นเจ้าหนี้อยู่บนเหนือศีรษะของทุกคน แต่เดี๋ยวนี้กลายมาเป็นผู้ประกอบวิชาชีพอย่างหนึ่ง
     จากคำอธิบายดังกล่าวนั้นครูในอดีตเป็นตำแหน่งที่สังคมยกย่อง เป็นผู้เปิดประตูทางวิญญาณ วิญญาณศิษย์ทั้งหลายยังปิดด้วยอวิชชา เป็น การช่วยให้ศิษย์ทำลายอวิชชาทั้งหลายเพื่อได้พัฒนาความเป็นมนุษย์ มีชีวิตจิตใจที่สูงกว่าสัตว์ทั้งหลายนั้นเอง ในแง่ของความหมายนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2539 : 170) อธิบายว่า ครูคือผู้สั่งสอนศิษย์ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ในปัจจุบันคำว่าว่าครูจะค่อนข้างหมายถึงอาชีพประการหนึ่งในสังคมมากกว่าจะหมายถึงบุคคล
     ครู  มีรากศัพท์เป็นภาษาบาลี มาจากคำว่า ครุ (คะรุ) ซึ่งแปลว่าหนักแน่น และสันสกฤตว่า คุรุ (คุ-รุ) ซึ่งแปลว่า ผู้ชี้แสงสว่าง แต่โดยความหมายในภาษาไทยก็คือครูผู้สอนประสิทธิ์ประสาทความรู้ อบรมบ่มนิสัยศิษย์ให้เป็นคนดี ยกระดับวิญญาณความรู้ดีชั่วให้แยกแยะความดีความชั่ว และรู้จักการดำรงชีวิตในแนวทางที่ถูกต้องมีคุณธรรม
     ถ้าแยกศัพท์ออกมาแล้ว จะมีสองคำ คือ คำว่า คุ ซึ่งแปลว่า แสงสว่าง (เป็นผู้ชี้ทางแสงสว่าง) และคำว่า รุ แปลว่า ความมืดมน (เป็นผู้ขจัดความเขลาที่มืดมน) ในศาสนาพราหมณ์ฮินดู มาจากปรัชญาความเชื่อในความสำคัญของการเข้าถึงความรู้ โดยมี คุรุ หรือ อาจารย์เป็นผู้ชักนำไปสู่จุดสูงสุด ในประเทศอินเดียในปัจจุบัน สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู และซิกข์ คำ คุรุ นี้ยังคงความหมายของความศักดิ์สิทธิ์ เช่น คุรุนานัก คุรุปัทมสัมภวะ คุรุนาคารชุน
     อนึ่ง คำว่า คุรุ นี้มีการทับศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ โดยสะกดว่า "guru" ซึ่งหากทับศัพท์มาใช้ในภาษาไทย ก็จะต้องเขียน "คุรุ" ซึ่งมีศัพท์นี้อยู่แล้วในภาษาไทย เช่น คุรุสภา, คุรุศึกษา เป็นต้น (ในภาษาบาลีใช้ "ครุ" เช่น ครุศาสตร์, ครุภัณฑ์) อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีความนิยมใช้คำว่า คุรุ นี้ในเชิงการบริหารและการศึกษา หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสาขานั้นๆ
     คุรุ ในภาษาสันสกฤตนั้นยังใช้หมายถึง พฤหัสบดี ซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง ซึ่งตรงกับเทพเจ้าจูปิเตอร์ของชาวโรมันนั่นเอง ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูนั้น ดาว จูปีเตอร์/คุรุ/พฤหัสบดี ถือว่าเป็นดาวที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ในภาษาต่างๆ ของอินเดีย คำว่า พฤหัสปติวาร(วันพฤหัสบดี) จะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าว่า คุรุวาร(วันคุรุ) โดย วาร นั้นหมายถึงวัน
     ครู คือผู้เป็นที่พึ่ง ในตำบลหมู่บ้านในชนบท เมื่อชาวบ้านมีปัญหาอะไร ก็มักจะไปหาครู ไปถาม ไปขอให้ ช่วยตัดสิน ว่าอะไรผิดอะไรถูก เพราะเขามีความมั่นใจว่า ครูเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ พร้อมด้วย ความเมตตากรุณา ยินดีที่จะช่วยเหลือแนะนำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นที่พึ่ง ซึ่งจะให้คำปรึกษาหารือ แก่เขาได้ นี่เป็นเกียรติของครูที่ควรแก่การภาคภูมิใจ
     ครูคือผู้เปิดประตูคอก เจ้าประคุณท่านอาจารย์สวนโมกข์ท่านใช้คำพูดว่า ครูเป็นผู้เปิดประตูคอก ที่ขังสัตว์ ไว้ในความมืด ให้ได้ออกไปสู่แสงสว่าง หรือเป็นผู้เปิดประตูคุกแห่งอวิชชา ให้สัตว์ออกมา เสียจากความโง่เขลา
     ครูคือผู้ฝึก นอกจากนั้นท่านยังเห็นว่า ครูคือผู้ฝึก เป็นดังสารถีผู้ฝึกสัตว์ให้เชื่อง เหมือนอย่างนายสารถี ผู้ขับรถม้าหรือเกวียน ครูจึงต้องเป็นผู้มี ความเมตตาปรานี ไม่ใช้อำนาจดึงดันเอาแต่ใจของตัว เพราะการฝึกโดยการฟาดฟันลงไปด้วยแส้ ด้วยไม้ ด้วยตะขอสับนั้น ก็แน่นอนที่สุดว่า ย่อมจะไม่ได้รับ ความรัก ความจงรักภักดีจากสัตว์ที่ตนฝึก มันยอมให้ก็เพราะกลัว สบโอกาสเมื่อใดก็ต่อต้าน
     ครูคือผู้ให้แสงสว่าง ให้ความรู้แก่ศิษย์อย่างทั่วถึง ทั้งวิชาการทางโลก และวิชชาอันเป็นปัญญาด้านใน ครูจึงต้องศึกษา ฝึกฝน อบรมตนเองให้พร้อมทั้งวิชาและวิชชา วิชานั้นเรียนรู้จาก ตำรา ครูอาจารย์ และ ประสบการณ์ได้ แต่วิชชาจะเกิดขึ้นได้ ต้องมาจากการศึกษาด้านใน ด้วยการหมั่นมองดู ใคร่ครวญ ถึงสิ่งอันเป็นสัจธรรมกฎธรรมชาติที่มนุษย์ทุกคนควรรู้คือ "ประกอบเหตุอย่างใด ผลอย่างนั้น" ถ้าเห็นความจริงข้อนี้ เมื่อมีปัญหา เกิดขึ้นก็จะมีปัญญาพิจารณา รู้ว่าควรแก้ไขอย่างไร จึงจะเป็นการกระทำที่ถูกต้อง และเมื่อได้ประกอบเหตุปัจจัยในส่วนของเรา อย่างเต็มความสามารถ แล้วก็สบายใจ ภาคภูมิใจได้ ส่วนผล จะเป็นอย่างไรนั้น ต้องยอมรับว่ายังมีเหตุปัจจัยอื่นๆ เป็นส่วนประกอบอีกหากสามารถรักษาความเป็นปกติของจิตไว้ได้อย่างนี้ พอมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น ก็จะไม่ไปเที่ยวโทษคนนั้น คนนี้ สิ่งโน้นสิ่งนี้ เกิดสัมมาทิฏฐิเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
     ครูคือผู้นำทางจิตวิญญาณ ที่จะนำพาศิษย์ไปในทิศทางที่ถูกต้อง ด้วยการพัฒนาจิตให้เกิดสัมมาทิฏฐิ มีความคิด ความเห็นที่ถูกตรง อันจะนำไปสู่การคิด พูด และทำในสิ่งที่ถูกต้อง
     คำพูดของท่านอาจารย์ สวนโมกข์ ท่านกล่าวว่า คนมีบุญคือคนที่เกิดในตระกูลที่มีสัมมาทิฏฐิ ในสายตาของคนทั่วไป คนมีบุญ คือคนมีหน้ามีตา มีทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียง เกียรติยศ พร้อมมูลในเรื่องของวัตถุ แต่สิ่งเหล่านี้คงทนถาวรอยู่ได้ตลอดไปไหม? เราก็คงเคยเห็น หลายครอบครัว หลายตระกูล ที่ดูเหมือนว่าทรัพย์สินที่มี กินใช้ไปเป็นร้อยปีก็ไม่หมด แต่แล้วก็ต้องสูญสิ้น ล้มละลายไป นั่นเพราะเหตุใด? ก็เพราะ ไม่รู้จักใช้ ไม่รู้จักรักษา ไม่รู้จักกำจัดสิ่งที่จะมาบ่อนทำลาย แต่ครอบครัว ที่มีสัมมาทิฏฐินั้น แม้บ้านช่อง อาจจะไม่โอ่โถงใหญ่โต พ่อแม่ไม่ได้มี อำนาจวาสนาอะไรมากมาย แต่เป็นผู้ประพฤติตนอยู่ในหนทางที่ถูกต้อง เลี้ยงดูครอบครัว ให้ลูกได้มีการศึกษาเล่าเรียน ตามควรแก่ฐานะ อบรมสั่งสอน ให้ลูกเป็นคนดี ครอบครัวก็อยู่เป็นสุข
     ฉะนั้น ความเป็นครูจึงเป็นของหนัก ครูที่แท้จริงจึงเป็นผู้ควรแก่การเคารพสักการะ ควรแก่การบูชา เป็น ปูชนียบุคคล ผู้เป็นที่พึ่ง และผู้นำ ทางจิตวิญญาณแก่สังคม
     อำไพ สุจริตกุล (๒๕๓๔ : ๔๗-๔๘) กล่าวว่า คำว่า "ครู" "ปู่ครู" "ตุ๊ครู" และ "ครูบา" ในสมัยโบราณ หมายถึง พระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่สอนกุลบุตรทุกระดับอายุ ตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงวัยรุ่น สอนทั้งด้านอักขรวิธี ทั้งภาษาไทย และภาษาบาลี สอนให้เป็นคนดีมีวิชาชีพ ตลอดจนความรู้ทางพระพุทธศาสนา แม้เมื่อศิษย์มีอายุครบบวชแล้ว ก็ยังคงศึกษาในวัดหรือสำนักนั้น ๆ ต่อไป จนมีความรู้ความชำนาญ สามารถถ่ายทอดวิชาที่ได้รับการสั่งสอนฝึกฝนจากครูบาของตนให้แก่ศิษย์รุ่นหลังของสำนักต่อไป หรืออาจลาไปแสวงหาความรู้ความชำนาญต่อจากพระสงฆ์หรือครูบา หรือตุ๊ครู ณ สำนักอื่น เมื่อเชี่ยวชาญแล้วก็กลับมาช่วยสอนในสำนักเดิมของตน จนเป็นครูบาสืบทอดต่อไป
     พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ให้คำจำกัดความไว้ในมาตราที่ 4 ว่า  ครู หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน  ความหมายตามพระราชบัญญัตินั้น อาจจะตีความชัดเจนได้ดังนี้คือ ครูต้องเป็นบุคลากรทางวิชาชีพ นั่นคือ ไม่ใช่ใครๆ จะเดินเข้ามาเป็นครูก็ได้ง่ายๆ ดังแต่ก่อนที่ยังไม่มีพระราบัญญัติการศึกษาแห่งชาติบังคับใช้บุคคลากรวิชาชีพก็ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติครบตามความในมาตรา 53 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติด้วย กล่าวคือต้องมีมาตรฐานด้านต่างๆ ตามที่องค์กรวิชาชีพครูกำหนด ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูต้องประพฤติปฏิบัติตามตามกรอบจรรยาบรรณวิชาชีพครูตามที่องค์กรวิชาชีพครูกำหนด ครูต้องเป็นผู้ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาของรัฐหรือของเอกชน ฉะนั้นผู้ที่ไม่ได้ทำหนาที่ทางด้านการเรียนการสอนในสถานศึกษาก็จะไม่เรียกว่าครูอีกต่อไป สำหรับหน้าที่ทางด้านการเรียนการสอนก็หมายความว่าครูต้องเป็นผู้จุดประกายการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เป็นผู้อำนวยความสะดวกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ของผูเรียน ครูต้องเป็นผู้แสวงหาสาระการเรียนตลอดจนกิจกรรมการเรียนต่างๆ เพื่อสนองความสนใจและความต้องการของผู้เรียน ครูไม่ใช่ผู้ยืนอยู่หน้าชั้นแบบเป็นองค์ความรู้แบบเบ็ดเสร็จในห้องเรียนอย่างในอดีต
ความหมายของอาจารย์
     แต่เดิมคำว่าอาจารย์ เป็นคำที่ใช้เรียกกันในหมู่พระสงค์ในศาสนาพุทธ เป็นตำแหนงของผู้อาวุโสที่มีหน้าที่เฉพาะในการควบคุมดูแลหรือสั่งสอนพระที่บวชใหม่ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต 2538 : 203) อธิบายความหมายของคำว่าอาจารย์ดังนี้ อาจารย์ แปลว่า ผู้ประพฤติอันเกื้อกูลแก่ศิษย์ ผู้ที่ศิษย์พึงประพฤติด้วยความเอื้อเฟื้อ ผู้สั่งสอนวิชาและอบรมดูแลความประพฤติ ในวงการสงฆ์มีอาจารย์ 4 ตำแหล่งคือ บรรพชาจารย์ คือผู้ให้สิกขาบทในการบรรพชา อุปสัมปทาจารย์ คืออาจารย์ผู้สวดกรรมวาจาในอุปสมบทกรรม นิสสยาจารย์ คือ อาจารย์ผู้ที่ตนไปขอยอมตนเป็นศิษย์อยู่ในการปกครอง และอุเทศาจารย์ หรือ ธรรมาจารย์ คือ อาจารย์ผู้สอนธรรม เป็นผู้ให้วิชาความรู้ เป็นที่ปรึกษาไต่ถามค้นคว้าก็ดี
     ต่อมาคำว่าอาจารย์จึงแพร่เข้าสู่วงการศึกษาโดยใช้เรียกข้าราชการพลเรือน ในมหาวิทยาลัยผู้ทำหน้าที่เป็นผู้สอนหรือผู้บรรยาย (Lecturer) วิชาการต่างๆ ให้แก่นิสิตหรือนักศึกษาในมหาวิทยาลัย แล้วจึงแพร่ขยายการใช้ไปสู่มหาวิยาลัยและโรงเรียนในช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้เอง  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้คำจำกัดความไว้ว่า คณาจารย์ หมายความว่าบุคลาการซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้นการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
     ความหมายตามพระราชบัญญัตินั้น คณาจารย์ก็คือผู้มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งสามารถสอนและทำการวิจัยในศาสตร์สาขานั้นๆ คณาจารย์เป็นคำรวมของตำแหน่ง อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ซึ่งเป็นตำแหน่งเฉพาะในสถาบันอุดมศึกษาอันถือว่าเป็นสากล
คำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน
     คำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันกับครูหรือศัพท์กลุ่มเดียวกันกับครูนั้นมีหลายคำ เช่น อุปัชฌาย์ แปลว่า ผู้สอนอาชีพ ซึ่งท่านพุทธทาสภิกขุ อธิบายไว้ว่า เป็นผู้ที่ศิษย์ต้องคอยเพ่งตามอง หรือคอยมองตามท่านสอน มองตามที่ท่านทำให้ดู เป็นผู้สั่งสอนศิลปะศาสตร์ในทางอาชีพต่างๆ นั่นเอง
     คำที่มีความหมายคล้ายคลึงกับคำว่าครูอีกคำ คือคำว่า ทิศาปาโมกข์ แต่ปัจจุบันเลือนหายไปจากสังคมไทยมากแล้วในสมัยโบราณผู้ที่มีอันจะกินนิยมส่งลูกหลานไปยังสำนัก ทิศาปาโมกข์ เพื่อให้เรียนวิชาที่เป็นอาชีพ หรือวิชาสำหรับกลับมาประกอบหน้าที่การงานที่สำคัญๆเกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง ทิศาปาโมกข์โดยทั่วไปรับลูกศิษย์จากทุกทิศ และจะกำหนดว่าทิศนั้นสอนวิชานี้ ทิศนี้เรียนวิชานี้ ผู้ที่ไปเรียนก็ไปหาความรู้ตรงตามที่ต้องการตามความนิยมในสมัยนั้น คล้ายกับสมัยนี้พอดีพอสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายก็จากบ้านเกิดไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัยในเมืองใหญ่นั่นเอง สำหรับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่มีความหมายคล้ายคลึงกันกับคำว่าครูหรือ Teachers ก็มีหลายคำเช่นกัน (Macquarie Thesaurus, 1992 : 400-400.1) คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่คุ้นเคยและควรทำความเข้าใจโดยใช้คำอธิบายจาก Collins cobuild Dictionary English Language มีดังนี้
               Teacher หมายถึง บุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำในโรงเรียนหรือสาบันการศึกษาต่างๆ ตรงกับคำว่าครูหรือผู้สอน
               Instructor หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นผู้สอนโดยเฉพาะในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย ตรงกับคำว่า อาจารย์
               Professor ในประเทศอังกฤษ หมายถึงตำแหน่งผู้สอนที่ถือว่าเป็นตำแหน่งสูงสุดในแต่ละสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ส่วนในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เป็นตำแหน่งที่ใช้เป็นคำหน้านาม สำหรับผู้สอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยต่างๆ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตรงกับคำว่า Assistant Professor
               Lecturer หมายถึง บุคคลที่สอนในมหาวิทยาลัย หรือวิทยาลัยตรงกับคำว่า ผู้บรรยายหรือองค์ปาฐก
               Tutor หมายถึง ผู้สอนซึ่งเป็นสมาชิกในคณะที่ทำหน้าที่สอนนักศึกษาเป็นกลุ่มเล็กๆ หรือสอนเป็นรายบุคคล โดยทำงานเป็นส่วนหนึ่งของผู้บรรยายนั่นเอง อาจมีความหมายคล้ายผู้สอนเสริมหรือผู้สอนกวดวิชา
               Sophist เป็นภาษากรกโบราณ หมายถึง ปราชญ์ ผู้สั่งสอนสรรพวิทยาลัยต่างๆ น่าจะแปลว่าทิศาปาโมกข์  นอกจากคำดังกล่าวแล้วยังมีศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับครูอีกหลายคำได้แก่ Principal แปลว่า ครูใหญ่ Schoolmaster and Schoolmistress แปลว่าครูผ้ชายและครูผู้หญิง Mentor แปลว่า อาจารย์ผู้ควบคุม Pedagogue แปลว่า ผู้มีภูมิครู
ความเป็นครูของครูไทยที่สังคมคาดหวัง
      การเป็นครูนั้นไม่ใช่ว่าใครที่พอมีความรู้หรือท่าทางน่าเชื่อถือก็จะมาเป็นครูได้ ครูเป็นคุณลักษณะที่ผู้ประสงค์จำดำเนินอาชีพนี้ต้องฝึกฝนศึกษาจนเชี่ยวชาญ จนเป็นที่ยอมรับขององค์กรวิชาชีพในระดับหนึ่งเป้นอย่างน้อย ทั้งนี้เพราะครูเป็นทั้งฐานะของบุคคลและวิชาชีพที่สังคมตาดหวังว่าจะต้องมีบทบาท ความสำคัญ หน้าที่ ความรับผิดชอบ คุณลักษณะ บุคลิกภาพ ค่านิยม จรรยาบรรณ และคุณธรรมที่เป็นแบบอ่างได้นั่นเอง หากจะคิดต่อไปว่าความเป็นครูของครูไทยควรเป็นอย่างไรในประเด็นนี้ ศาสตราจารย์สุมัน อมรวิวัฒน์ (2535 : 468-474) อธิบายได้อย่างชัดเจนอย่างยิ่งว่า ดังนี้
1. ครูคือมนุษย์
     ในโลกนี้มีพลโลกอยู่ 2 ประเภทเท่านั้น ประเภทแรกคือคน และประเภทที่ 2 คือมนุษย์ พวกที่เป็นคนนั้น เป็นเพียงสิ่งที่มีชีวิตชนิดหนึ่งที่พัฒนาแต่ร่างกายและความเป้นอยู่แต่จิตใจและความรู้สึกนึกคิดหาได้พัฒนาขึ้นไม่ แต่ละวันจะดำเนินไปตามแรงกระตุ้นของสัญชาตญาณ หิวก็กิน ง่วงก็นอน ใครทำให้ขัดใจก็โกรธและทำร้า เต็มไปด้วยการแก่งแย่งแข่งดีเอาแต่ใจ ให้ไม่เป็น ชัยชนะเกิดจากการทำลายผู้อื่น หลงติดอยู่ในกามและเกียรติยศ หัวใจจึงร้อนเร่าและทุรนทรายอยู่ตลอกเวลา คนพวกนี้ถ้ามาเป้นครู ก็จะคิดแต่เพียงว่าทำอย่างไรถึงจะได้รับ ไดเลื่อนและได้รวย คิดถึงแต่ตัวเอง ซึ่งก็คือผู้รับจ้างสอนหนังสือเท่านั้นเอง
      ต่อมาคนใดก็ตามที่เริ่มรู้จักวิเคราะห์และปรับปรุงตนเองได้ ฝึกฝนอบรม กาย วาจาและใจ ให้ประพฤติปฏิบัติตนตามหลักของความพอดีและไม่ประมาท รู้จักเป็นผู้ให้และเป็นผู้ที่รักคนอื่นมากกว่าตนเอง ฝึกการใช้สติปัญญาความรู้ที่มีอยู่ เพื่อสร้างสรรค์มากกว่าการทำลาย เห็นคุณค่าของเพื่อน มนุษย์ คุณค่าของธรรมชาติแวดล้อม และคุณค่าของพัฒนาตนตามทำนองคลองธรรม ชีวิตและจิตใจอยู่เหนือสัญชาตญาณ สามารถระงับอารมณ์อันป่าเถื่อนลงได้ เป็นผู้ที่มีจิตใจสูง และมีจิตใจอิสระ เป็นมนุษย์ที่แท้จริงนั่นเอง ครุที่เป็นมนุษย์เท่านั้นจึงจะเป้นครูได้
2. ครูคือกัลยาณมิตร
        ความหมายของกัลยาณมิตรนั้น กว้างไกลและลึกซึ้งยิ่งกว่ามิตรแท้ เพราะนอกจากจะเป็นเพื่อนที่มีความจริงใจต่อกันและกันแล้ว กัลยาณมิตรยังเป็นผู้ชี้แนะและช่วยเหลือให้เกิดความเจริญอย่างชอบธรรม ครูที่ยืนสอนอยู่คนเดียวทุกวันๆ นั้นเป็นเพียงผู้บอกวิชา แต่ครูที่มองว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม และเห็นว่านักเรียนคือมนุษย์ที่มีหัวใจ มีความรู้สึกนึกคิด มีพ่อแม่ที่ส่งลูกมาหาครู มาอยู่กับครูที่โรงเรียน ด้วยความคาดหวังที่จะทำงานหนักและมีความรับผิดชอบที่จะจัดกระบวนการและกิจกรรมทุกอย่างให้ลูกศิษย์ของตนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีความรู้ ความสามารถ ความคิดและความดี
       เมื่อนักเรียนเดินเข้ามาหาครูนั้นย่อมหวังว่าจะได้พบมนุษย์คนหนึ่งที่จะให้ความรักละความรู้ความคิดที่สูงและกว้างไกล ที่จะพึ่งพาได้ ที่จะช่วยให้เข้าใจเมื่อสงสัย ช่วยให้เย็นเมื่อเดือดร้อน ช่วยให้เห็นทางสว่างเมื่อมืดมนช่วยให้เลือกตัดสินใจได้ด้วยตนเองเมื่อสับสนวุ่นวาย นักเรียนจะต้องมั่นใจว่า เมื่อมาหาครู จะพบกับรอยยิ้มิใช่ด้วยหยาดน้ำตา หัวใจของครู จึงเป็นหัวใจของมิตร มิตรที่เป็นกัลยา คืองดงาม เที่ยงตรงเปี่ยมด้วยวิชชาและกรุณาต่อศิษย์ ครูที่มีหัวใจเป็นกัลยาณมิตรของศิษย์เท่านั้น จึงจะเป็นครูที่ดีเด่นที่แท้
3. ครูคือผู้นำทางปัญญาและวิญญาณ
        วิญญาณ คือความรู้แจ้งหยั่งรู้ว่าอะไรคือสิ่งผิดชอบชั่วดี อะไรคือบุญและบาปอะไรคือความจริงและเท็จและอะไรคือความวิวัฒน์และความวิบัติผู้ที่จะมีวิญญาณเช่นนี้ จะต้องได้รับการฝึกหัดขัดเกลาได้รับการสั่งสอนฝึกฝนให้รู้จักภาวะที่แท้จริงของธรรมชาติ หน้าที่และกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ การปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติและประจักษ์ผลที่เกิดจากการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
       นักเรียนจะมีปัญญาและวิญญาณที่ดีได้ก็ต่อเมื่อครูเป็นผู้รู้แจ้งรู้จริงและคิดชอบและสามารถเป็นผู้นำทาง ที่ถูก ที่ควร ให้เจริญรอยตามโดยนัยนี้ครูจึงเป็นแบบอย่างและแม่พิมพ์ แต่ครูจะไม่ครอบงำและบังคับให้ศิษย์เป็นทาสความคิดของครู นักเรียนเป็นมนุษย์ เป็นตัวของตัวเอง ที่อาจจะเดินตมครูได้ แต่ต้องเดินวิธีและท่าทางของตนเอง ถ้าครูนำทางให้ถึงหมายอันพึงประสงค์ของหลักสูตรได้ ครูก็ได้ทำหน้าที่สมบูรณ์แล้ว ครูที่เป็นผู้นำทางปัญญาและทางวิญญาณนั่นเอง จึงเป้นครูที่ดีเด่นจริง
4. ครูคือผู้มีศาสตร์และศิลปะ
       ผู้ที่เป็นครู ต้องสามารถประกาศได้ว่า วิชาครูนั้นเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง เป็นศาสตร์ที่มีพื้นฐานมาหนักแน่น มีหลักการและทฤษฎี มีวิธีการและแนวปฏิบัติ สามารถวิจัยและพัฒนาให้เกิดความรู้ใหม่ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพและคุณธรรม เป็นศาสตร์ที่สร้างสรรค์ให้ชีวิตและจิตใจของมนุษย์ให้มีคุณภาพและคุณค่าต่อตนเองและส่วนรวม ครุศาสตร์จึงมิใช่ สามัญสำนึก (Common Sense) ไม่ใช่การเอาชีวิตของเด็กมาลองผิดลองถูกและไม่ใช่การลงทุนธุรกิจ ผู้ที่เป็นครูจึงต้องได้รับการฝึกฝนอบรมทั้งในวิธีที่เป็นระบบและในครรลองของประสบการณ์
การเป็นครู คือการพัฒนาคุณภาพของชีวิต อะไรที่เกี่ยวข้องกับชีวิตต้องมี คุณ (คือประโยชน์) มี งาม (คือความประณีตละเอียดอ่อน เป็นระเบียบ) และมีความดี (คือคุณธรรม) ศิลปะของการสอน ศิลปะของการสร้างความสัมพันธ์ ศิลปะของการกล่อมเกลาจิตใจ และความประพฤติเป็นคุณงามความดีที่ครูต้องสร้างและสั่งสมเอาไว้ตลอดชีวิตของครู ครูดีเด่นจึงต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสอน
5. ครูคือผู้ที่ดำรงและค้ำจุนความเป็นไทย
      ประเทศชาติจะมั่นคงได้อย่างไร อิสรภาพที่ไหน ถ้าบ้านเมืองมีรั้วรอบขอบชิดแข็งแรง แต่ภายในบ้านเมืองนั้น มีแต่ความยับเยินทางเศรษฐกิจ มีแต่ความเป็นทาสทางวัฒนธรรม มีแต่ทาสทางความคิดที่ปล่อยไปไม่ได้ครูจึงเป็นกลุ่มบุคคล ที่ต้องตรากตรำต่อสู้กับความโง่เขลา ความไม่รู้และความจนตรอกทางความคิด

                การรู้จักมองคนอื่น และศึกษาแนวคิดของผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ครูไทยต้องเป็นคนที่มีหลักและมีความเป็นไทย ครูไทยต้องรู้ว่า ประวัติความเป็นมาและการสอนแบบไทแท้ๆ นั่นเป็นอย่างไร คุณค่าอันสูงส่งของการศึกษาไทยนั้นอยู่ที่ไหนจะจัดการสอนโดยนำปรัชญาของไทยเองมาใช้ไดอย่างไร จึงจะเกิดวิธีอันกลมกลืนเหมาะสมกับสภาพของเด็กไทย และชุมชน

                จากคำบรรยายของศาสตราจารย์ สุมน อมรวิวัฒน์ ที่ได้แสดง ในการประชุมวิชาการ ของครูประถมศึกษาดีเด่นที่ไปรับรางวัลเมื่อ พ.ศ. 2539 นั้น อาจจะกล่าวได้ว่าการเป็นครูนั้นไม่ใช่ใครจะเป็นก็เป็นได้ การเป็นครูคือจะต้องเป็นมนุษย์ เป็นผู้นำทางปัญญาละวิญญาณ เป็นกัลป์ยานมิตร เป็นผู้มีศาสตร์และศิลป์ และเป็นผู้ค้ำจุนความเป็นไทย ฉะนั้นผู้ที่เข้าสู่วงการครูมีความประสงค์จะประกอบวิชาชีพครู จึงต้องมีความศรัทธาในวิชาชีพและกำหนดรูปแบบของครูที่ตนจะเป็น แล้วหมั่นฝึกฝนจิตใจ ความคิด สติปัญญาและความประพฤติปฏิบัติตนไปตามรูปแบบที่ตนกำหนดไว้ก็ย่อมสามารถเป็นครูที่ดีได้
ครูไทยในยุคโลกาภิวัตน์
      การเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิ่งแวดล้อม วิทยาการและเทคโนโลยีในโลกปัจจุบันย่อมเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต วิถีสังคม และวิถีแห่งวิชาชีพไปบ้างตามสมควร กาพัฒนาแลความก้าวหน้าของการดำรงชีวิตในแต่ละยุค ทำให้บางอาชีพสูญหาย บางอาชีพเสื่อมถอย หรือมีอาชีพหรือวิชาชีพใหม่ๆเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามบรรทัดฐานแห่งวิชาชีพครุก็ยังคงเป็นสัจธรรมอยู่ในสังคมไทย แม้สังคมไทยจะเคลื่อนเข้าสู่ยุคไร้พรมแดนเยี่ยงนานาอารยประเทศก็ตาม
      จากการสัมมนาระดับนานาชาติ ณ หอประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์ ของโครงการ การศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัตน์นั้น ผลการสัมมนาในประเด็นจะเตรียมครูกันอย่างไรนั้น ต้องเป็นทั้งผู้ให้ความรู้ ผู้ให้เครื่องมือการแสวงหาความรู้ และผู้จุดไฟแห่งการเรียนรู้ ฉะนั้นครูจะต้องเป็นผู้รอบรู้ในทุกเนื้อหาวิชา ครูจะต้องแตกฉานในทักษะและวีหาความรู้สมัยใหม่ และเป็นผู้ที่มีหูตากว้างขวางเกี่ยวกับแหล่งความรู้ต่างๆ อีกทั้งยังต้องเป็นนักจิตวิทยาชั้นดีที่สามารถกระตุ้นความใฝ่รู้เรียนให้กับเด็กๆ ได้อีกด้วย

                -ครูในอนาคตต้องเป็นนักเทคโนโลยีสารสนเทศไปในตัวด้วย เป็นเทคโนโลยีที่เป็นสหายสนิทกบการศึกษาในปัจจุบัน และการเข้าถึงแหล่งความรู้ใหม่ๆ ในปัจจุบันล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านนี้ทั้งสิ้น
                -ครูในอนาคตต้องเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ อันเป็นภาษาสากลภาษาเดียวที่จะช่วยถอดรหัสความรู้ในสื่ออิเลคทรอนิกส์ทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็น อินเตอร์เน็ต มัลติมีเดีย หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่นๆ
                -ครูในอนาคตจะต้องติดตามความก้าวหน้าในเทคโนโลยีวิธีการสอนต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ในอนาคตอาจมีสภากาแฟอินเตอร์เน็ต หรือ ชมรมครูอินเตอร์เน็ต ที่เปิดโอกาสให้ครูแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคนิคใหม่ๆผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                -ครูในอนาคตจะต้องเป็นนักจิตวิทยาการเรียนรู้ชั้นเลิศ ที่สามารถพัฒนาศิษย์ให้ก้าวทันความรู้และปรับตัวกับชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์ ได้แนวคิดใหม่ๆ ในวงการจิตวิทยาการเรียนรู้ เช่นแนวคิดเกี่ยวกับ ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) ในการเผชิญความเปลี่ยนแปลงต่างๆของมนุษย์ อาจกลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆของคนในอนาคต
                -ครูที่สังคมไทยพึงประสงค์นั้น นอกจากจะมีบรรทัดฐานของความเป้นครูดั่งกล่าวแล้ว ในยุคสมัยของของโลกแห่งข้อมูลข่าวสาร ครูยังต้องพัฒนาตนเองให้ทันความก้าวหน้าทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอด้วย

สรุป ความหมายคำว่าครู
         อาชีพครู เป็นอาชีพอีกอาชีพหนึ่งที่หลายคนอยากจะเป็น เพราะเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีคนนับหน้าถือตา  มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เป็นผู้ที่ได้รับการเคารพบูชา  อาชีพครูไม่ใช่แค่สอนหนังสืออย่างเดียว แต่มันมีอะไรอีกมากมายที่คนเป็นครูควรรู้
พระเทพวิสุทธิเมธี (พุทธทาสภิกขุ 2529 : 92-94) อธิบายความหมายและความเป็นมาของคำว่าครูไว้ว่า เป็นคำที่สูงมาก เป็นผู้เปิดประทางตูวิญญาณ แล้วก็นำไปเดินทางวิญญาณ ไปสู่คุณธรรมเบื้องสูง เป็นเรื่องทางจิตโดยเฉพาะ มิได้หมายถึงเรื่องวัตถุ หรือมรรยาท หรือแม้แต่อาชีพ จึงมีน้อยมาก ครูนั้นมักจะไปทำหน้าที่เป็นปุโรหิตของพระราชา หรืออิสระชนซึ่งมีอำนาจวาสนา มีหน้าที่การงานอันใหญ่หลวง
         "ครู" ความหมายตามพจนานุกรม หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์หรือผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ (ราชบัณฑิตตยสถาน,2546,หน้า225)
         "ครู" ความหมายตามแนวคิดปรัชญาพื้นฐาน

      ลัทธิจิตนิยม : ครูคือผู้อาวุโสที่มีความรู้และประสบการณ์ เป็นผู้ที่มีความประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีตามหลักเกณฑ์ของศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม ประเพณี กฏระเบียบและมารยาทสังคม

      ลัทธิสัจนิยมหรือวัตถุนิยม : ครูคือ ผู้สอน ผู้บรรยาย ผู้สาธิต โดยพยายามโน้มน้าว อ้างอิง และยกเหตุผลอรรถธิบายให้เห็นถึงความจริงของสรรพสิ่งทั้งหลาย

      ลัทธิโทมัสนิยมใหม่ : ครูคือผู้กำหนดกรอบความคิด กรอบความรู้ เป็นผู้ชี้นำทางความคิด แล้วให้ผู้อื่นเชื่อตาม คิดตาม และปฏิบัติตาม

"ครู" ความหมายตามแนวคิดปรัชญาพื้นฐาน

     ลัทธิประสบการณ์นิยม : ครูคือ ผู้จัดการเรียรู้ที่มุ่งเน้นการสร้างบรรยากาศ และจัดกิจกรรมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์

     ลัทธิอัตถิภาวะนิยม : ครู คือ ผู้กระตุ้นหรือผู้เร้าความสนใจผู้เรียนให้มีความกระตือรือร้นและเชื่อว่าตนเองสามารถค้นหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ได้ด้วยตนเองและสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง

"ครู" มีรากศัพท์เป็นภาษาบาลี มาจากคำว่า ครุ (คะรุ) ซึ่งแปลว่าหนักแน่น และสันสกฤตว่า คุรุ (คุ-รุ) ซึ่งแปลว่า ผู้ชี้แสงสว่าง แต่โดยความหมายในภาษาไทยก็คือครูผู้สอนประสิทธิ์ประสาทความรู้ อบรมบ่มนิสัยศิษย์ให้เป็นคนดี ยกระดับวิญญาณความรู้ดีชั่วให้แยกแยะความดีความชั่ว และรู้จักการดำรงชีวิตในแนวทางที่ถูกต้องมีคุณธรรม

 "ครู" ความหมายตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

      "ไทยเราเคารพยกย่องครูมาก สงเคราะห์ครู เข้าในบุพการีจากบิดามารดาไม่ว่าผู้ใด แม้มียศศักดิ์อำนาจเพียงใด ก็ยังยำเกรงเชื่อฟังครู ไม่ลบหลู่ไม่ลืมครู เพราะเราถือว่าครูเป็นผู้ปลูกฝังทั้งความรู้และความดีให้แก่เราเป็นผู้ที่ปั้นเราให้เป็นคนดีมีประโยชน์"          

                  "ครูเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาการและเป็นผู้ถ่ายทอดความประพฤติ วิธีประพฤติตน วิธีคิดและความดีงามทุกอย่าง ซึ่งจะสร้างให้บุคคลเป็นคนดี เป็นคนที่ไม่เป็นภัยต่อผู้อื่น ตรงข้ามคือเป็นผู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ต่อส่วนรวม และตัวเอง ก็จะได้รับประโยชน์ว่าเป็นคนที่เจริญ"

                  "คำว่าครูนั้นสูงยิ่ง เพราะถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับการเคารพบูชาได้ ฉะนั้นได้ชื่อหรือเรียกตัวว่าเป็นครู ก็จะต้องบำเพ็ญตนให้ดี บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ บำเพ็ญตนให้เป็นที่นับถือได้ เพราะว่าผู้ใดเป็นครูแล้วไม่บำเพ็ญตนให้เป็นที่นับถือได้ดีเท่ากับบกพร่อง"

"ครู" ความหมายตามพราะราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมายถึง บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน

ความหมายของครูเป็นรูปธรรม

        คุณค่าของความเป็นครูเป็นนามธรรม

             - ครูมีคุณค่าในความเป็นปูชนียบุคคล

             - ครูเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ

             - ครูเป็นวิศวกรแห่งชีวิต

             - ครูเป็นผู้ให้ความผูกพัน

             - ครูเป็นผู้ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนต่อตนเองมากไปกว่าการได้เห็นศิษย์ถึงจุดหมาย

             - ครูเป็นผู้ซึ่งมีความดี ความงาม ซึ่งแสดงออกโดย กาย วาจา ใจ อย่างบริสุทธิ์ใจ

             - ครูเป็นผู้สืบทอด และถ่ายทอดวัฒนธรรม

             - ความเป็นครู มองจากภายนอก (คนเป็นครู) เพื่อให้เห็นหน้าที่ของ ครู

             - ครูเป็นผู้อบรม บ่ม เพาะ สั่งสอน

คำว่าครูเมื่อกล่าวถึงหรือเมื่อได้ยินได้ฟังแล้ว ทุกคนต่างรู้ถึงความหมายและเกิดความตระหนักในความสำคัญ บุญคุณของครู ซึ่งความหมายของครูมีความหมายอยู่ในตัว ครูคือกัลยาณมิตร ครูคือแม่พิมพ์คือบุคคลที่ถ่ายความรู้ให้แก่ลูกศิษย์ ให้ความรักความเอาใจใส่เปรียบเสมือนพ่อแม่คนที่สองของเรา เพื่อให้ลูกศิษย์มีอนาคตที่สดใส ให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ปลูกฝังจิตสำนึกให้เป็นคนดี เป็นบุคคลที่ดีของชาติ

ครูคือผู้ที่มีความรู้มากมายและสามารถนำความรู้นั้นมาถ่ายทอดได้ คือผู้มีศาสตร์และศิล เป็นผู้นำทางวิญญาณ เป็นผู้ค้ำจุน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น